กลาโหม ชงเปิดช่องรับ ม.6 เข้าสอบ รร.นายร้อย 3 เหล่าทัพ
:: แนะแนว
หน้า 1 จาก 1
กลาโหม ชงเปิดช่องรับ ม.6 เข้าสอบ รร.นายร้อย 3 เหล่าทัพ
กลาโหม ชงเปิดช่องรับ ม.6 เข้าสอบรร.นายร้อย 3 เหล่าทัพ เหตุเตรียมทหาร ป้อนเด็กน้อยเกินไป
มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในช่วงปลายปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประเด็นคือ กระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม รับบุคคลพลเรือนที่มีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาดังกล่าว
ข้อหารือ คือ หากสภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ รับบุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามศักยภาพ ความพร้อม และประศาสน์ปริญญาตามศักดิ์และสิทธิแห่งพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องดำเนินการอย่างไร และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพียงใด
ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8 ) ได้พิจารณาข้อหารือของกระทรวงกลาโหม โดยมีผู้แทนกระทรวงกลาโหม (สำนักงานปลัดกระทรวงและกองทัพไทย) และผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว
ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า การรับบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ มีการรับเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารเท่านั้น
แต่ปัจจุบันโรงเรียนเตรียมทหารมีการรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารน้อยลง ทำให้มีนักเรียนเตรียมทหารเข้าศึกษาในโรงเรียนเหล่าทัพน้อยลงไม่สอดคล้องกับความพร้อมของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ที่มีทั้งด้านอาคาร สถานที่ และบุคลากร ดังนั้น เพื่อให้มีการกระจายโอกาสทางการศึกษา สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
กระทรวงกลาโหมจึงมีความประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ โดยกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนที่เป็นพลเรือนประมาณร้อยละสามสิบ และเปิดสอนสาขาวิชาที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์
รายงานข่าวแจ้งว่า นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำความเห็นล่าสุดว่า ประเด็นวินิจฉัยคือ "ผู้สำเร็จวิชาการทหาร" ตาม หลักสูตรที่สภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติของแต่ละสาขาวิชาตามพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2533 หมายถึง หลักสูตรของแต่ละสาขาวิชาประกอบด้วยการศึกษาวิชาที่เป็นไปตามหลักสูตรที่สภาการศึกษาวิชาการทหารกำหนดตามมาตรฐานหลักสูตรที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาวางหลักเกณฑ์ไว้และวิชาการทหาร
เมื่อ กระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณสมบัติจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ โดยเปิดสอนสาขาวิชาที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ แต่ไม่ได้มีการศึกษาวิชาการทหารดังเช่นนักเรียนวิชาการทหาร บุคคลดังกล่าวย่อมไม่เป็นผู้สำเร็จวิชาการทหารตามพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหารฯ
ดังนั้น สภาการศึกษาวิชาการทหารจึงไม่สามารถอนุมัติให้ปริญญาแก่บุคคลพลเรือนที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาวิชาการทหารดังกล่าวได้
ทั้งนี้ แม้ว่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ จะมีหลักสูตรการศึกษาที่เทียบได้กับการจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การจัดการศึกษาจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานโดยทั่วไปของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีการอนุมัติให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จวิชาการทหาร แต่เมื่อพิจารณาระบบโครงสร้างการบริหารจัดการของโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว จะเห็นได้ว่า สถาบันการศึกษาเหล่านี้มีวัตถุประสงค์และการบริหารจัดการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป
กล่าวคือ โครงสร้างการบริหารจัดการของโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ยังเป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทางวิชาการ การกำหนดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการภายในสถาบันการศึกษาไม่มีความชัดเจนตามรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการใช้เกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการและการประเมินคุณภาพทางการศึกษาในลักษณะสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางซึ่งต่างจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ดังนั้น หากกระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะจัดการศึกษาแก่บุคคลพลเรือนเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาและอนุมัติปริญญาสำหรับหลักสูตรการศึกษาทั่วไปและกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการให้สอดคล้องกับมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดเสียก่อน
ที่มา มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327644918&grpid=&catid=19&subcatid=1903
มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในช่วงปลายปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประเด็นคือ กระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม รับบุคคลพลเรือนที่มีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาดังกล่าว
ข้อหารือ คือ หากสภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ รับบุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามศักยภาพ ความพร้อม และประศาสน์ปริญญาตามศักดิ์และสิทธิแห่งพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องดำเนินการอย่างไร และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพียงใด
ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8 ) ได้พิจารณาข้อหารือของกระทรวงกลาโหม โดยมีผู้แทนกระทรวงกลาโหม (สำนักงานปลัดกระทรวงและกองทัพไทย) และผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว
ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า การรับบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ มีการรับเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารเท่านั้น
แต่ปัจจุบันโรงเรียนเตรียมทหารมีการรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารน้อยลง ทำให้มีนักเรียนเตรียมทหารเข้าศึกษาในโรงเรียนเหล่าทัพน้อยลงไม่สอดคล้องกับความพร้อมของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ที่มีทั้งด้านอาคาร สถานที่ และบุคลากร ดังนั้น เพื่อให้มีการกระจายโอกาสทางการศึกษา สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
กระทรวงกลาโหมจึงมีความประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ โดยกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนที่เป็นพลเรือนประมาณร้อยละสามสิบ และเปิดสอนสาขาวิชาที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์
รายงานข่าวแจ้งว่า นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำความเห็นล่าสุดว่า ประเด็นวินิจฉัยคือ "ผู้สำเร็จวิชาการทหาร" ตาม หลักสูตรที่สภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติของแต่ละสาขาวิชาตามพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2533 หมายถึง หลักสูตรของแต่ละสาขาวิชาประกอบด้วยการศึกษาวิชาที่เป็นไปตามหลักสูตรที่สภาการศึกษาวิชาการทหารกำหนดตามมาตรฐานหลักสูตรที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาวางหลักเกณฑ์ไว้และวิชาการทหาร
เมื่อ กระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณสมบัติจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ โดยเปิดสอนสาขาวิชาที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ แต่ไม่ได้มีการศึกษาวิชาการทหารดังเช่นนักเรียนวิชาการทหาร บุคคลดังกล่าวย่อมไม่เป็นผู้สำเร็จวิชาการทหารตามพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหารฯ
ดังนั้น สภาการศึกษาวิชาการทหารจึงไม่สามารถอนุมัติให้ปริญญาแก่บุคคลพลเรือนที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาวิชาการทหารดังกล่าวได้
ทั้งนี้ แม้ว่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ จะมีหลักสูตรการศึกษาที่เทียบได้กับการจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การจัดการศึกษาจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานโดยทั่วไปของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีการอนุมัติให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จวิชาการทหาร แต่เมื่อพิจารณาระบบโครงสร้างการบริหารจัดการของโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว จะเห็นได้ว่า สถาบันการศึกษาเหล่านี้มีวัตถุประสงค์และการบริหารจัดการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป
กล่าวคือ โครงสร้างการบริหารจัดการของโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ยังเป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทางวิชาการ การกำหนดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการภายในสถาบันการศึกษาไม่มีความชัดเจนตามรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการใช้เกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการและการประเมินคุณภาพทางการศึกษาในลักษณะสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางซึ่งต่างจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ดังนั้น หากกระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะจัดการศึกษาแก่บุคคลพลเรือนเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาและอนุมัติปริญญาสำหรับหลักสูตรการศึกษาทั่วไปและกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการให้สอดคล้องกับมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดเสียก่อน
ที่มา มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327644918&grpid=&catid=19&subcatid=1903
thongman- บรรลุเทพ
- จำนวนข้อความ : 2638
Registration date : 06/02/2008
:: แนะแนว
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ