Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การศึกษาไทยถึงกาลต้องปรับปรุง

Go down

การศึกษาไทยถึงกาลต้องปรับปรุง Empty การศึกษาไทยถึงกาลต้องปรับปรุง

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by thongman 14/5/2008, 15:17

คุณภาพการศึกษาของไทย(ต้องปรับปรุง)
คุณภาพการศึกษาของไทย ตกอยู่ในสภาพที่ต้องได้รับการดูแลและเยียวยาเป็นพิเศษเหมือนผู้ป่วยในห้องไอซียู. องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกจ (OECD) ได้รายงานว่า นักเรียนไทยมีความสามารถในการอ่านลดลงอยู่ในอันดับที่ 41-42 จาก 57ประเทศ และส่งผลให้การเรียนวิชาอื่นๆ มีปัญหาไปด้วย, ความรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยอยู่ในอันดับที่ 43-46 และ 44-47 จาก 57 ประเทศตามลำดับ.
จากการศึกษาวิจัยของ OECD สรุปว่าปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้คุณภาพการศึกษาของไทย ต้องมีสภาพเหมือนคนไข้ในห้องไอซียู ได้แก่
1.ความแปรปรวนระหว่างโรงเรียน หมายถึง คุณภาพของโรงเรียนมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด. ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่จัดการศึกษาได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก. โรงเรียนในประเทศฟินแลนด์ มีความแปรปรวนระหว่างโรงเรียนต่ำกว่า 5% ซึ่งแสดงว่าพ่อแม่ชาวฟินแลนด์ ไม่ต้องพบกับปัญหาการเลือกโรงเรียนให้ลูกเพราะโรงเรียนมีคุณภาพแตกต่างกันไม่มาก. สำหรับโรงเรียนในประเทศไทยความแปรปรวนระหว่างโรงเรียนมีค่าสูงถึง 37% การเลือกโรงเรียนให้ลูกจึงเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับพ่อแม่คนไทยเพราะโรงเรียนมีคุณภาพแตกต่างกันมาก.
การจัดการศึกษาของไทย ทำให้บุคคลได้รับสิทธิเสมอภาคและมีความคุณภาพอย่างทั่วถึง ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมหรือไม่?
2.การแข่งขันของโรงเรียนเพื่อรับเด็ก จากการศึกษาวิจัยพบว่า ในประเทศที่ยิ่งมีจำนวนโรงเรียนที่แข่งขันกันเพื่อรับเด็กมาก นักเรียนจะยิ่งมีคะแนนเฉลี่ยของการเรียนสูง. แต่สำหรับประเทศไทยกลับตรงข้ามกล่าวคือ นักเรียนแข่งขันกันเพื่อเข้าโรงเรียน และผลคือนักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำทุกวิชา.
ผลการศึกษาวิจัยนี้ให้ข้อคิดอะไรบ้างกับผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายการศึกษาของไทยที่กำหนดให้โรงเรียนยอดนิยมทั้งหลายใช้วิธีการรับนักเรียนโดยการให้นักเรียนสอบแข่งขัน. ระบบ “แอดมิสชั่นส์”ก็ใช้วิธีการเดียวกันคือ “ให้นักเรียนสอบแข่งขัน”ใช่หรือไม่?
3.งบประมาณการศึกษา จากการศึกษาวิจัยพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือหลายประเทศที่รัฐบาลใช้วิธีแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาด้วยการเพิ่มงบประมาณสนับสนุน, ผลปรากฏตรงข้ามคือนักเรียนมีผลการเรียนแย่ลง. ในประเทศที่ใช้วิธีให้โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการ, มีอิสระในการหาและการตัดสินใจในการใช้งบประมาณ พบว่านักเรียนมีผลการเรียนที่ดีกว่า.
ดังนั้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาโดยตรงตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 39, นอกจากจะเป็นภาระกิจที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่ดีที่รัฐบาลใหม่ควรจะรีบดำเนินการเพราะไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่มแต่อย่างใด ใช่หรือไม่?
4.ทรัพยากรของโรงเรียน หมายถึงการมีครูที่เพียงพอ และมีทรัพยากรการเรียน ได้แก่ หนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพ. จากการศึกษาค้นพบว่ามีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน. ประเทศไทยขาดแคลนครูมากเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มที่นักเรียนมีผลการเรียนต่ำ. จำนวนนักเรียนต่อครูในประเทศที่นักเรียนมีผลการเรียนดีจะอยู่ที่นักเรียน 10 คนต่อครู 1 คน หรือต่ำกว่านั้น. ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีนักเรียนมากกว่า 20 คนต่อครู 1 คน. ผู้บริหารสถานศึกษาของไทยส่วนใหญ่รานงานว่าขาดแคลนทรัพยากรการศึกษา ยกเว้นโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชน. ดัชนีทรัพยากรเฉลี่ยของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD มาก.
ข้อมูลดังกล่าวอธิบายได้ดีอยู่แล้วว่าทำไมคุณภาพการศึกษาของไทยจึงได้ตกต่ำ.
กล่าวโดยสรุป การบริหารและการจัดการศึกษาของไทย ยังไม่มีคุณภาพและยังไม่ได้มาตรฐานพอที่จะเตรียมเยาวชนให้สามารถใช้ชีวิตและเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพที่จะผลักดันเศรษฐกิจและการให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในอนาคต. เมื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาก็ได้ข้อมูลว่า รัฐบาลใหม่จะต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วนทั้งในเรื่องครู,ทรัพยากรการศึกษา และการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน.

ที่มา: สยามรัฐ ( 14 พฤษภาคม 2551)

thongman
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 2638
Registration date : 06/02/2008

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš