Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

'ไอคิว-อีคิว'เด็กไทยนับวันยิ่งน่าเป็นห่วง !!

Go down

'ไอคิว-อีคิว'เด็กไทยนับวันยิ่งน่าเป็นห่วง !! Empty 'ไอคิว-อีคิว'เด็กไทยนับวันยิ่งน่าเป็นห่วง !!

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by thongman 14/5/2008, 15:18

นับวันยิ่ง 'น่าเป็นห่วง' 'ไอคิว-อีคิว' 'เด็กไทย' มีไม่พอ !!

"การเปลี่ยนแปลงโดยรวมดีขึ้น จาก 61.59 ในปี 2544 เป็น 64.04 ในปี 2549 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ดัชนีครอบครัวอบอุ่นกลับปรับลดลงจาก 67.87 ในปี 2544 มาอยู่ที่ 59.99 ในปี 2548 และเหลือ 58.75 ในปี 2549 ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า...แนวโน้มความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง” ...นี่เป็นข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ความสัมพันธ์ครอบครัวอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง
จุดนี้มีผลเสียต่อ “ไอคิว” และ “อีคิว” เด็กไทย !!

เรื่องของ “ไอคิว (IQ)” หรือ “เชาวน์ปัญญา” และ “อีคิว (EQ)” หรือ “ความฉลาดทางอารมณ์” นั้น จากข้อมูลการทำวิจัยเชิงสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี 2550 พบว่า... ไอคิว-อีคิวของเด็กไทยวัยเรียนที่อายุระหว่าง 6-11 ปี แม้จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับพบค่าคะแนนในส่วนของความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวมีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2545 กับปี 2550 โดยปี 2545 ค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 148-225 แต่ในปี 2550 กลับลดลงอยู่ระหว่าง 129-218 ซึ่งอีคิวมีความสัมพันธ์กับระดับไอคิว
อีคิวสัมพันธ์กับระดับไอคิว โดยเฉพาะในด้านความกระตือรือร้น ความสนใจใฝ่รู้ กล้าพูด กล้าแสดงออก และความพึงพอใจในตนเอง ถ้าอารมณ์เด็กไทยมีปัญหาก็โยงถึงปัญหาทางปัญญา ซึ่งไอคิว-อีคิว เด็กไทยจะสร้างเสริมและพัฒนาได้ ปัจจัยสำคัญมาจากสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว !!
กับเรื่องนี้ นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยว่า... เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทางกรมได้เริ่มโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยมาตั้งแต่ปี 2548 และในปี 2550 นี้ ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ 15 จังหวัดนำร่อง พัฒนารูปแบบพื้นที่เรียนรู้ของครอบครัวเพื่อการพัฒนาไอคิว-อีคิวให้กับลูกหลานในชุมชน ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจของกรมที่ผ่านมาพบว่า “ยังมีพ่อแม่ผู้ปกครองหลายครอบครัวมีปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาไอคิว-อีคิวบุตรหลาน”
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชนบทห่างไกล และ ในครอบครัวที่บุตรหลานมีปัญหาด้านพัฒนาการและออทิสติก ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ลงนามความร่วมมือกับ จ.อุทัยธานี ให้เป็นต้นแบบในการให้บริการเด็กในพื้นที่ที่มีปัญหาพัฒนาการและออทิสติก โดยประชาชนมีส่วนร่วม ได้จัดทำโครงการเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ และสนับสนุนหน่วยบริการด้านพัฒนาการเด็กในพื้นที่” ...อธิบดีกรมสุขภาพจิตระบุ
พร้อมทั้งบอกว่า... ผลการดำเนินงานพบว่าพ่อแม่ที่ร่วมกิจกรรม เพิ่มสัมพันธภาพในครอบครัว เช่น ให้เวลากับครอบครัวเพิ่มขึ้น พูดคุยกับลูกบ่อยขึ้น ลูกจะมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจมากขึ้น
“ครอบครัวเป็นพื้นฐานสังคมที่จะดูแลเด็กได้ดีที่สุด การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ และความอบอุ่นของครอบครัว จะมีผลอย่างมากต่อการพัฒนาไอคิว และอีคิว ในเด็ก” ...อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
ด้าน อุดม พัวสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ระบุตอนหนึ่งว่า... ในพื้นที่จังหวัดได้ดำเนินโครงการโดยการให้ความรู้โดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและพื้นที่ มีการใช้สื่อประสมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นจุดเด่นของแต่ละท้องถิ่น มาเป็นปัจจัยในการสร้างเสริมและพัฒนาไอคิว-อีคิวเด็กอย่างเป็นรูปธรรม
“ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความร่วมมือขึ้นในพื้นที่ ซึ่งนำสู่การสร้างกระแสและขยายผลสู่สาธารณะ ส่งผลต่อการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยอย่างต่อเนื่อง” ...ผู้ว่าฯอุทัยธานีกล่าว ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ ประสิทธิ์ บุญประสาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี ระบุถึงการดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ เพื่อ “พัฒนาไอคิว-อีคิวเด็ก” ซึ่ง “ป้องกันไม่ให้เด็กเดินทางผิด”
“เข้าใจแล้วครับว่าการที่ไม่อยากให้ลูกเป็นคนเกเรก้าวร้าว อันดับแรกเลยต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดความรู้สึกดี ๆ ให้กับลูก เพื่อปลูกฝังให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ส่วนตัวผมอยากให้ทุกครอบครัวมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยกันสอดส่องปัญหาไม่ให้กลับมาซ้ำเดิมอีก” ...ส่วนนี่เป็นคำกล่าวของ ปิยะ รัตนสกุล สมาชิกศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ห้วยแห้ง หลังเข้าสัมมนาเรื่องการพัฒนาไอคิว-อีคิว แล้วนำความรู้ไปใช้ในครอบครัว กับลูก จนครอบครัวอบอุ่นมากขึ้น
และตอกย้ำประเด็น “ไอคิว-อีคิวเด็กมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมเด็ก” ด้วยเสียงจากเด็กคือ น้องเต้ย-วรวุธ คำอัฐ ที่เข้าโครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมไอคิว-อีคิวของเด็กและครอบครัว ที่บอกว่า... เพื่อน ๆ ที่มาที่ศูนย์หลายคนเคยเป็นเด็กเกเร พูดยาก ไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน หนีเรียนบ้าง แต่พอเข้ามาที่ศูนย์แล้วหลายคนดีขึ้น ไม่ก้าวร้าว ไม่เกเร ส่วนตัวเองเดี๋ยวนี้ก็เรียนดีกว่าแต่ก่อน ผลการเรียนดีขึ้นมาก และกิจกรรมที่ศูนย์ เช่น สอนทอผ้า สอนสานเครื่องจักสาน ก็ทำให้ได้มีความรู้กลับไปช่วยงานที่บ้านด้วย
“พ่อแม่ก็ภูมิใจและชม ทำให้ผมอยากอยู่บ้าน ส่วนพ่อแม่พอเข้าโครงการแล้วก็ไม่ค่อยทะเลาะกันเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ผมรู้สึกรักครอบครัวมากขึ้น” ...น้องเต้ย-วรวุธบอกอย่างนี้
รวยหรือจน...คงมิใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความรักลูก
รักลูก...อย่าลืมทำครอบครัวให้อบอุ่นตามอัตภาพ
ลูกจะเดินทางที่ดีได้...ไอคิว-อีคิวนั้นสำคัญ !!!!!.


ที่มา: เดลินิวส์ ( 14 พฤษภาคม 2551)

thongman
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 2638
Registration date : 06/02/2008

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™


 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš