Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

พลิกโฉม อุดมศึกษาไทย

Go down

พลิกโฉม อุดมศึกษาไทย Empty พลิกโฉม อุดมศึกษาไทย

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by thongman 14/5/2008, 15:26

นระยะนี้ หากลองสังเกตดูภาพยนตร์โฆษณาทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแล้ว ยังจะมีโฆษณาแนะนำมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งกล่าวได้ว่า ช่วงนี้เป็นจังหวะที่นักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยม กำลังมองหาสถาบันอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษา ต่อระดับปริญญาตรี หลังผลประกาศ สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ
ปัจจุบันพบว่าจำนวนการรับนักศึกษาปริญญาตรีในปี 2551 ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศรวมกันมีมากกว่าจำนวนนักเรียน ที่ต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
ฉะนั้น เมื่อจำนวนนักเรียนที่พร้อมจะเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีมีจำนวนน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะน้อยลงเรื่อยๆ จากครอบครัวของคนรุ่นใหม่นิยมมีลูกน้อยลง ครอบครัวละ 1-2 คนเท่านั้น โดยเมื่อ เทียบตัวเลขของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2542 มีจำนวน 6.4 แสนคน และในปี 2549 ตัวเลขลดลงเหลือ 5.2 แสนคน เท่านั้น ส่งผลให้การแข่งขันของ มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะเอกชนทวีความรุนแรงขึ้น เรียกได้ว่า ใครดีใครอยู่เลยทีเดียว
หากจะมองกันในแง่ดี การแข่งขันจะทำให้การศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีหลักสูตรและการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ซึ่งในยุคสมัยนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี หากมหาวิทยาลัยมีระบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง (E-Learning) หรือ ดิจิตอล เลิร์นนิง (Digital Learning) ก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถดึงดูดใจให้นักเรียนที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หรือแม้แต่ผู้จบการศึกษาไปแล้ว ทำงานแล้วเลือกที่จะศึกษาต่อ

จากการกวาดตามองล่าสุด พบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนต่างมีการปรับตัว โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศใช้ระบบการเรียนการสอนระบบไฮบริก หรืออินเตอร์แอ็กทีฟ อีคลาสรูม ใช้งบลงทุนเกือบ 1,000 ล้านบาท ในการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เตรียมความพร้อมสำหรับอาจารย์ นักเรียน ที่จะเข้ามาเรียนในปีการศึกษา 2551 อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องเรียน ห้องสมุดแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้า ชูธงจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่ระดับสากล โดยตั้งเป้าติดอันดับ 1 ใน 500 มหาวิทยาลัยโลก ใน 5-8 ปี ข้างหน้า

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีเป้าหมายที่จะผลักดันมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้เป็น อิเล็กทรอนิกส์ ยูนิเวอร์ซิตี (Electronic University) ในอีก 6-7 ปีข้างหน้า พร้อมกับงบลงทุนในการพัฒนาทางด้านไอทีอีกปีละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี รวมๆ แล้วงบลงทุนทั้งหมดก็เกือบ 300 ล้านบาท โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพวางวิชันอนาคตจะปรับหลักสูตร ใช้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง หรือ Student Center เพราะเด็กรุ่นหลังที่เกิดขึ้นมายุคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมรับ นักศึกษาต่างชาติ เพราะได้ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติในมหาวิทยาลัยกรุงเทพแล้ว ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติศึกษาอยู่ประมาณ 380 คน

ขณะที่อัสสัมชัญวางเป้ามหาวิทยาลัยคือการสร้างพลโลก หรือประชากรของโลก ไม่ใช่แค่ประชากรของประเทศไทยเท่านั้น หมายความว่าหลักสูตรในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยจะต้องสร้างทรัพยากร มนุษย์ที่ 1.สามารถไปอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ก็ได้ 2.สามารถศึกษาต่อที่ไหนก็ได้ และ 3.มีความสัมพันธ์อันดีกับชาวต่างชาติ มีการใช้ไอทีมาเป็นหลักในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งในปัจจุบันยังมีอยู่ไม่กี่หลักสูตร แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ทางมหาวิทยาลัยจะมี 1 หลักสูตร 2 ระบบ คือการเรียนการสอนแบบปกติ กับทางไกล อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับ นักศึกษาในต่างจังหวัด คนทำงานที่ต้องการศึกษาต่อแต่ไม่มีเวลา รวมถึงนักศึกษาต่างชาติก็จะสามารถเรียนได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยสยามจับมือกับมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก (University of Pittsburgh) ออสเตรเลีย ที่มีชื่อเสียงในการสร้างบุคลากรทางไอที นำอาจารย์จากมหาวิทยาลัยดังกล่าว เข้ามาสอนอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทางมหาวิทยาลัยสยามตั้งเป้าที่จะเปิดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะพัฒนา มหาวิทยาลัยสยามสามารถสร้างบุคลากรทางด้านไอทีที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ยังตั้งเป้าที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นอีเลิร์นนิง แบบ 100% ให้ได้ในอีก 1-2 ปี ใช้งบ 60 ล้านบาท

เมื่อนำการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเอกชนสถาบันต่างๆ มาประมวลแล้วจะพบว่า มีทิศทางร่วมผลักดันเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการศึกษาของไทยจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีและประโยชน์ต่ออนาคตของชาติรุ่นหลัง ที่จะมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างทันสมัยและมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทย มีบุคคลกรที่ดีที่จะพัฒนาประเทศต่อไป

นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อ โดยไม่จำเป็นต้องลาออกจากงาน ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรของประเทศไปอีกหนทางหนึ่งที่ดีอีกด้วย

รวมไปถึง หากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลกได้ ก็จะมีนักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาศึกษาในประเทศไทย หรือเรียนในประเทศของตน เงินก็ไหลเข้าประเทศ อันเป็นอีกช่องทางในการหารายได้เข้าประเทศ ช่วยเสริมรายได้จากการส่งออกหรือการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากประเทศไทยจะกลายเป็นฮับของการแพทย์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลกแล้ว ยังเป็นฮับของการศึกษาที่ทันสมัย และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั่วโลกได้อีกอย่างหนึ่งด้วย



ข้อมูล : โพสต์ ทูเดย์
กระทรวงศึกษาธิการ

thongman
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 2638
Registration date : 06/02/2008

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™


 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš