Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

มองการศึกษาอังกฤษ..อเมริกา ถึงไทย

Go down

มองการศึกษาอังกฤษ..อเมริกา ถึงไทย Empty มองการศึกษาอังกฤษ..อเมริกา ถึงไทย

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by thongman 14/5/2008, 15:28

มองการศึกษาอังกฤษ..อเมริกา ถึงไทย

"อังกฤษ" หนึ่งในประเทศมหาอำนาจที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจำนวนไม่น้อยล้วนมีที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ แล้วยิ่งได้ไปสัมผัสระบบการศึกษาของอังกฤษด้วยตนเองจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาดูงานด้านการศึกษากับคณะของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ก.ค.ศ. ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน...!!
จากแนวคิดของรัฐบาลอังกฤษ ในปี พ.ศ.2546 ที่ต้องการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น จึงทำให้ภาคเอกชนได้ก่อตั้ง TDA (Training and Development Agency for Schools) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
เป้าประสงค์ของหน่วยงานดังกล่าว คือ การจัดระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความเป็นธุรกิจโดยมีการวางแผนชิงกลยุทธ์ มองจุดอ่อนจุดแข็ง และมีการวางแผนว่าสถานศึกษาควรมีการพัฒนาในทิศทางใด มีการวางแผนด้านการเงิน ทั้งการตรวจสอบด้านงบประมาณ มองหาลู่ทางในการหารายได้ที่หลากหลายขึ้น นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมทางการศึกษา
ด้านบุคลากรมีการจัดระบบในการคัดเลือกบุคลากร การหมุนเวียน ตลอดจนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการด้านทรัพย์สินของสถานศึกษา โดยเฉพาะด้านอาคารสถานที่ และพื้นที่โรงเรียน การนำระบบ ICT (Information and Communication Technology) มาใช้ในการจัดระบบข้อมูลของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตลอดจนมีการนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา การสร้างภาพลักษณ์ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการสอนในภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะสายอาชีพ ควรมีการสร้างความร่วมมือ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์จริงจากองค์กรภายนอก
การพัฒนาระบบการศึกษา สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คงหนีไม่พ้น "ครู" ซึ่งทาง TDA ได้มีการวางแผนพัฒนาให้มีการผลิต "ครูในอุดมคติ" ที่นอกจากจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กแล้ว ยังควรเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรม มีความน่าเคารพเชื่อถือ และเป็นกำลังใจให้เด็กในการเรียนรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิต โดยครูจะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ตลอดเวลา และประพฤติตนเป็น "ต้นแบบ" ของการคิดดี ทำดี พูดดี
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับครู คงหนีไม่พ้นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะการรู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการสอนในรูปแบบใหม่ๆ เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และนำคำวิจารณ์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก
ในส่วนของการอบรมสั่งสอนเด็กจะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ โดยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Learning) ถือเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสอนในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแนวคิดจากสหรัฐอเมริกา
Harvard Family Research Project (HFRP) ได้ริเริ่มแนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่เรียกว่า "Complementary Learning" ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "เด็กและเยาวชนจะประสบความสำเร็จในชีวิตและการงานได้ต้องได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Supports) จากทุกๆ สิ่งรอบตัว"
จากความเชื่อนี้สถานศึกษาต้องเชื่อมโยง และทำงานให้สอดคล้องกับแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานศึกษาอื่นๆ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มิใช่มาจากโรงเรียน เช่น โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย ครอบครัว รวมทั้งสื่อมวลชน
หลักการสำคัญของ Complementary Learning คือ ทั้งโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้และความสำเร็จของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน ตลอดจนโอกาสการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ จากห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสื่อมวลชน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างวันได้ทั้งสิ้น และสามารถนำไปสู่การพัฒนาทางการศึกษาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
หากการจัดหรือออกแบบโปรแกรมกิจกรรมนอกโรงเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพสูงแล้ว กิจกรรมนอกโรงเรียนต่างๆ นี้จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนได้ เนื่องจากเยาวชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เยาวชนได้รับการดูแลไม่ให้เข้าไปมั่วสุมกับกิจกรรมที่ผิด เยาวชนได้รับการสอนสั่งทั้งในเรื่องทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง ความเชื่อและพฤติกรรม เยาวชนได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
นอกจากนั้น "โอกาสและบริบทการเรียนรู้ต้องเติมเต็มต่อกัน" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งหมายถึง บริบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ต้องเติมเต็มต่อกันและสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์อันหนึ่งอันเดียวกันในตัวเด็ก ศาสตร์ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ครุศึกษา และศาสตร์แขนงอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า บริบทมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กและบริบทเหล่านี้ต่างมีผลซึ่งกันและกันด้วย
ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ของเด็กต้องไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน แต่ต้องดำเนินการในรูปผสมผสานและบูรณาการ ซึ่งความสำเร็จในการนำแนวคิด "Complementary Learning" ไปใช้ต้องมีความมุ่งมั่น กลยุทธ์เป้าหมายการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และเป้าหมายร่วมเดียวกัน
มองระบบการบริหารจัดการโรงเรียน และระบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แล้วหันมามองระบบศึกษาไทยแล้วก็คงต้องพูดตรงๆ ว่า "การศึกษาไทยยังมีช่องว่างที่ต้องเติมเต็ม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการอบรมสั่งสอนเยาวชนไทยในขณะนี้ที่ดูคล้ายจะเป็นการโยนภาระในการดูแลเยาวชนให้สถานศึกษาเป็นส่วนใหญ่
แม้หน้าที่อบรมสั่งสอนเด็ก และเยาวชนจะเป็นภาระหน้าที่หลักที่ครูบาอาจารย์ต้องรับผิดชอบ แต่การปลูกฝังเด็กให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้เป็นเด็กไทยที่มีศักยภาพเหมาะกับโลกยุค KM (Knowledge Management) ซึ่งเป็นยุคแห่งการจัดการองค์ความรู้ และการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากครู พ่อแม่ผู้ปกครอง สื่อมวลชน และสถาบันต่างๆ ของสังคม
จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของ "ครู" ไม่ได้เด็ดขาด...!!~
แต่หากทุกฝ่ายในสังคมยังละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ร่วมมือร่วมใจกันอบรมสั่งสอน และปล่อยปละละเลยเยาวชนไทยเช่นนี้ ก็คงไม่กล้าคิดว่าในอนาคตประเทศชาติจะตกอยู่ในสภาพใด...!!
อย่างดีที่ปี 2552 "ครูพันธุ์ใหม่" ซึ่งเป็นผลผลิตจาก "หลักสูตรครู 5 ปี" จะสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกซึ่งก็น่าที่จะพอเป็น "ความหวังรางๆ" ให้ระบบการศึกษาไทยอยู่ได้บ้าง...
ไม่เช่นนั้นก็ไม่รู้จะฝาก "เด็ก" ไว้กับใคร...!?

โดย สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ที่มา : มติชน (11พ.ค.51)

thongman
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž
เธšเธฃเธฃเธฅเธธเน€เธ—เธž

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 2638
Registration date : 06/02/2008

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš