เจาะใจด้วยจิตวิทยา
เธซเธเนเธฒ 1 เธเธฒเธ 1
เจาะใจด้วยจิตวิทยา
เจาะใจด้วยจิตวิทยา
***จิตวิทยาคืออะไร??
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมโดยรวมของมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ ในอันที่จะช่วยพยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆ หน้าที่ของนักจิตวิทยา คือ การค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ตนกำลังศึกษาอยู่นั้นว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมนั้นๆ เมื่อมีความเข้าใจในสาเหตุของพฤติกรรม ก็จะสามารถนำไปสู่การคาดการณ์ การควบคุมและการพัฒนาไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ตามความเหมาะสม จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ จะช่วยให้ทราบว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์และกำหนดแนวทางการพัฒนาไปในทิศทางตามเป้าหมายที่เป็นคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง รู้ขีดความสามารถของตนเองว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใดและแตกต่างจากคนอื่นในจุดใด รู้จักจุดอ่อนและจุดแข็ง รวมทั้งแนวทางที่จะพัฒนาตนเองได้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนแวดล้อมในครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน สังคม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบและสามารถบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้
***ปัจจุบัน นักจิตวิทยาแบ่งตามประเภทของสาขาการศึกษาดังนี้
- สาขาจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำหลักการทาง จิตวิทยามาใช้ในการสำรวจปัญหาทางการศึกษา ตลอดจนสร้างหลักการ ทางจิตวิทยาที่มีระบบระเบียบวิธีการของตนเอง ถือเป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
- สาขาวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ความสามารถทางพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย อย่างเป็นลำดับขั้นตอนว่า มีกระบวนการพัฒนา แต่ละวัยอย่างไร รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ต่างๆ ของการพัฒนาโดยเฉพาะทางจิตใจ
- สาขาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมอย่างเป็นระบบ เนื้อหาวิชารวมการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด เช่น ศึกษาการรับรู้การตอบสนอง ระหว่างบุคคล อิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ฯลฯ
- สาขาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยให้คนรู้จัก และเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งทุกด้าน ช่วยให้คนรู้จักโลกและสิ่งแวดล้อมของตนช่วยให้คนรู้จักการพัฒนา และสามารถนำศักยภาพหรือความสามารถที่ตนมีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น รู้จักเลือก และตัดสินใจอย่างฉลาดเพื่อแก้ปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
- สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทาง จิตวิทยามาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคล พัฒนาการบริหาร การจูงใจลูกจ้าง วิจัยตลาด วิจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองธุรกิจและอุตสาหกรรม
- สาขาจิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการปรับตัวของมนุษย์โดยพยายามค้นหาสาเหตุว่าคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือมีความผิดปกติทางจิตใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรนักจิตวิทยาคลีนิคใช้หลักการและความรู้ทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ และบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ปัญหาทางสุขภาพจิตโรคประสาท การติดยาเสพติด ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ตลอดจนปัญหาการปรับตัวอื่นๆ เพื่อค้นหาวิธีการปรับตัวและการแสดงออกที่ดีและเหมาะสมกว่า
***จบไปทำไรต่อดี
เมื่อคนนึกถึงนักจิตวิทยา มักจะคิดถึงนักบำบัดที่เรียนมาสูงๆนั่งอยู่ที่ออฟฟิศหรูหรา หรือคิดถึงนักวิทยาศาสตร์หัวฟูๆในมือถือเข็มอิเล็กโตรดคอยจิ้มสมองเล็กๆหนูทดลองในห้องแล็บ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็จริง แต่เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่นักจิตวิทยาทำ
นักจิตวิทยาสามารถเข้าไปทำงานได้ในหลากหลายสาขาอาชีพมาก ถึงแม้ว่างานหลักใหญ่ๆจะอยู่ในด้านการบำบัดและการเรียนการศึกษา และส่งที่จะบอกต่อไปนี้คือกลุ่มงานที่คุณๆสามารถเลือกไปทำงานได้หลังจากที่ได้เรียนจิตวิทยา โดยทั่วไปแล้วควรจะจบปริญญาเอกแต่ก็มีบางสายงานที่จบปริญญาโทก็เพียงพอที่จะทำงานได้แล้ว
1.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา (Clinician)
กลุ่มนี้มักจะทำงานในโรงพยาบาล ไม่ก็ตามชุมชนต่างๆ หรือไม่ก็ทำเองส่วนตัวโดยใช้เวลาทำงานของตนเองทั้งวันในการอยู่กับผู้ที่รับการบำบัด โดยทั่วไปแล้วงานกลุ่มนี้จะต้องการการศึกษาระดับปริญญาเอกในทั้งสาขาจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการปรึกษา และควรจะได้เรียนเรื่องจิตพยาธิวิทยาและวิธีการรักษาต่างๆมาอย่างดี ในสหรัฐอเมริกาจะมีกลุ่มที่ทำงานแบบนี้ประมาณ 40-45% ของนักจิตวิทยาทั้งหมด
2.กลุ่มนักการศึกษา (Educator)
ในสหรัฐฯ นักจิตวิทยามักจะเริ่มต้นทำงานกับด้านการศึกษาอยู่ประมาณ 40% บางคนก็สอนจิตวิทยา บางคนก็ทำงานวิจัยและให้ดูแลโครงงานวิจัยของนักเรียนนักศึกษา แนะนำการทำวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา และบางคนก็ทำวิจัยกันเอง อยู่ในห้องทดลองหรือที่อื่นๆ หลายคนในกลุ่มนี้ก็เหมาเอาหมดทุกงานตามที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ
3.กลุ่มธุรกิจ (Business)
นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่ได้รับการฝึกฝน ได้รับการเทรนในแวดวงธุรกิจและการจัดการองค์กร คนกลุ่มนี้จะถูกว่าจ้างโดยองค์กรใหญ่ๆหรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์(Ergonomic คือ การทำให้สถานที่ทำงานและเครื่องใช้ไม้สอยให้เหมาะสมกับผู้ที่ทำงาน) งานที่ได้ทำจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจที่เข้าไปทำและความต้องการของบริษัทนั้นๆ แต่ก็ทำอยู่เกี่ยกวับการสัมภาษณ์งาน การจ้างคน การฝึกพนักงาน การเลื่อนขั้นพนักงาน การประเมินการสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มกัน และช่วยเหลือผู้บริหารในการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับลูกจ้างและนโยบายกฏเกณฑ์ต่างของพนักงานแม้ว่าเป็นสาขาเฉพาะที่กำลังเติบโตอยู่เรื่อยๆ แต่ทว่าในสหรัฐฯก็มีสัดส่วนแค่ 5% จากนักจิตวิทยาทั้งหมด
4.กลุ่มงานกีฬา (Sports)
นักจิตวิทยาบางคนก็ผสมผสานระหว่างด้านกีฬาที่ตนเองสนใจเข้ากับความรู้ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์และแรงจูงใจต่างๆ ผู้ที่ทำงานสายอาชีพนี้มักจะทำงานเพียงกีฬาใดกีฬาหนึ่งไปหรือเจาะจงบางทีมไปเลยเพื่อศึกษาและช่วยให้ทีมพัฒนาได้ดีขึ้น เมื่อทีมอยู่ในสภาวะแรงจูงใจตก มีความกังวล ความกลัว และตอนที่มีเป้าหมายในการแข่งขัน
5.กลุ่มงานเทคโนโลยี (Technology)
เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มงานใหม่ที่ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์จากจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะมีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เรื่องระหว่างคนกับเครื่องจักร คนกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน คนกับเทคโนโลยี เป็นต้น หรือจะพูดอีกอย่างได้ว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้จะศึกษาว่าเทคโนโลยีจะส่งผลอย่างไรกับเรา และเทคโนโลยีจะช่วยทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร
6.กลุ่มงานอื่นๆ (Other)
ผู้เขียนไม่สามารถระบุได้หมดว่านักจิตวิทยาสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะว่านักจิตวิทยาสามารถทำงานได้หลากหลายมากมาย บางคนก็ทำงานส่วนตัวเป็นพาร์ทไทม์และมีสอนบ้าง บางคนก็ทำการวิจัยในช่วงปิดภาคฤดูร้อนและก็เข้าสอนในช่วงเดือนอื่นๆ บางคนก็เอาความรู้จิตวิทยาไปใช้ในการอาชีพของตนเอง งานใดที่ใช้คนก็ควรจะคิดถึงนักจิตวิทยาเข้าไปด้วย ยังไงก็ตามสิ่งที่นักจิตวิทยาควรจะเก่งๆเอาไว้คือ ศึกษาเกี่ยวกับด้านปัญญาการรู้คิด ศึกษาอารมณ์ และศึกษาพฤติกรรมคนนี่แหละ
***ด่วน!!! โลกอนาคตนักจิตวิทยาฯขาดตลาด
แม้ว่าปัจจุบันจะมีมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวมากขึ้นและโดยภาพรวมมีนักศึกษาสมัครเข้าเรียนในสาขาดังกล่าวมากขึ้น โดยที่ม.ธรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาปริญญาโทสาขาดังกล่าว ปีการศึกษาละ 60 คน ซึ่งมีนักศึกษาจบออกไปอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ตามกำหนดเวลาของหลักสูตรก็ตามที
ผศ.ธีรศักดิ์ ก็ยังเกรงว่า สังคมจะขาดนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ เนื่องจากการเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ ไม่เพียงแค่ศึกษาจบหลักสูตรเท่านั้น แต่ยังต้องมีความสนใจในความเป็นมนุษย์ ช่างสังเกตและมีคุณธรรมจริยธรรมพอสมควร ต้องเป็นนักวิจัย ค้นคว้า ไม่นิ่งเฉย เพราะเรื่องจิตใจมนุษย์ละเอียดอ่อน ต้องไวต่อความต้องการของตนเองและผู้อื่นคือ ตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่นที่ดี
ที่สำคัญต้องมีความสามารถในการบริหารอารมณ์ด้วย เพราะปัจจัยสำคัญของมนุษย์ นอกจากความนึกคิดแล้ว คืออารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่การก่อพฤติกรรม นักจิตวิทยาที่ดีจึ้งต้องบริหารอารมณ์และความคิดของตนเองได้
ที่ผมบอกว่าเราจะขาดแคลนนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ หมายความว่า ปัญหาสังคมในการบริหารจัดการมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็ว คนปรับวิธีคิดไม่ทัน เราต้องการคนที่มีความรู้จิตวิทยาไปช่วย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ผมมองว่านักจิตวิทยาที่มีความสามารถไม่พอต่อสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นั่นคือคนป่วยไข้ทางจิตมากขึ้น โดยเฉพาะคนในองค์กร การบริหารโดยมุ่งเน้นที่เป้าหมายเกินไป เป็นการบริหารที่ส่งเสริมให้คนเกิดความเครียด นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ จะมีความจำเป็นและเป็นที่ต้องการมากขึ้น หากไม่มีอะไรรองรับตรงนี้ ประสิทธิภาพการบริหารงานของคนเราก็จะด้อยลง ในอนาคตโอกาสที่จะขาดแคลนนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ เก่งๆ มีสูงทีเดียว
ส่วนงานที่มหาบัณฑิตจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้วได้ทำนั้น พบว่า 17% เป็นผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล 15% เป็นพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล 14% เป็นอาจารย์/นักวิชาการ 12% เป็นผู้จัดการการผลิตวิศวกร และ 11% เป็นเจ้าของกิจการ
ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนจิตวิทยากันเถอะ!!!
***มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
-ระดับปริญญาตรี
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/
มีวิชา จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
2.คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
3.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เกษตรศาสตร์ http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy/
มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรม
4.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://hu.swu.ac.th/psych/
5.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนว ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://edu.swu.ac.th/
6.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศิลปากร http://www.educ.su.ac.th/program/programI.html
7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ http://www.human.cmu.ac.th/~psycho/
8.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.บูรพา http://www.huso.b uu.ac.th/
9.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนวและจิตวิทยาการให้คำปรึกษา http://gep.buu.ac.th/index2.html
มี จิตวิทยาการปรึกษา
10.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.มหาสารคาม http://www.msu.ac.th/
11.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_1.asp
มี จิตวิทยาสังคม, จิตวิทยาการบริการปรึกษาและแนะแนว, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาพัฒนาการ
12.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ทักษิณ http://www.tsu.ac.th/
13.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.พายัพ http://psycho.payap.ac.th/
มี จิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว จิตวิทยาสังคม
14.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.นเรศวร http://www.social.nu.ac.th/course.htm
15.วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ศิลปศาสตร สาขาวิชาจิตวิทยา http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=40&Itemid=42
มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาองค์การ
16.คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=169&Itemid=140
มี จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, การประถมศึกษา-จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
17.คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏธนบุรี http://dit.dru.ac.th/home/001/index.php
18.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์
19.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏนครราชสีมา http://www.edu.nrru.ac.th/psychology/index.asp
20.คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ม.เกษตรศาสตร์ http://edupsy.edu.ku.ac.th/
-ระดับปริญญาโท
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php
มี จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
2.Graduate School of Psychology มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://www.grad.au.edu/py_program
มี Counseling Psychology
3. โครงการปริญญาโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ม.ธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/org/arts/psycho
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
4. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=59
มี จิตวิทยาประยุกต์
5. การศึกษามหาบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://hu.swu.ac.th/psych/curriculum/master.htm
มี จิตวิทยาพัฒนาการ
6. คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร http://www.educ.su.ac.th/program/programIl.html
มี จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology), จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ (Special Education Psychology)
7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ http://www.human.cmu.ac.th/~psycho/
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ,จิตวิทยาการปรึกษา
8. บัณฑิตวิทยาลัย ม.บูรพา http://graduate.buu.ac.th/course.htm
มี จิตวิทยาการแนะแนว, พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
9. การศึกษามหาบัณฑิต ม.มหาสารคาม http://www.grad.msu.ac.th/
มี จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
10. หลักสูตรปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_2.asp
มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development ), จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ (Psychology for Special Education Teachers), จิตวิทยาการพัฒนาการ, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาการให้คำปรึกษา, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน
11.คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร http://www.edu.nu.ac.th/
มี จิตวิทยาการแนะแนว (Courseling Psychology )
12. คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=170&Itemid=141
มี จิตวิทยาการศึกษา
13.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.cued-research.com/
มี จิตวิทยาการศึกษา
14.คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
มี โครงการปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ http://indpsy.soc.ku.ac.th/index.html
จิตวิทยาชุมชน http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy/community.html
-ระดับปริญญาเอก
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php
มี จิตวิทยาสังคมและพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา
2. หลักสูตรปริญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_3.asp
มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, จิตวิทยาให้คำปรึกษา, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
3.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.cued-research.com/
มี จิตวิทยาการศึกษา
***จิตวิทยาคืออะไร??
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมโดยรวมของมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ ในอันที่จะช่วยพยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆ หน้าที่ของนักจิตวิทยา คือ การค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ตนกำลังศึกษาอยู่นั้นว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมนั้นๆ เมื่อมีความเข้าใจในสาเหตุของพฤติกรรม ก็จะสามารถนำไปสู่การคาดการณ์ การควบคุมและการพัฒนาไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ตามความเหมาะสม จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ จะช่วยให้ทราบว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์และกำหนดแนวทางการพัฒนาไปในทิศทางตามเป้าหมายที่เป็นคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง รู้ขีดความสามารถของตนเองว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใดและแตกต่างจากคนอื่นในจุดใด รู้จักจุดอ่อนและจุดแข็ง รวมทั้งแนวทางที่จะพัฒนาตนเองได้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนแวดล้อมในครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน สังคม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบและสามารถบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้
***ปัจจุบัน นักจิตวิทยาแบ่งตามประเภทของสาขาการศึกษาดังนี้
- สาขาจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำหลักการทาง จิตวิทยามาใช้ในการสำรวจปัญหาทางการศึกษา ตลอดจนสร้างหลักการ ทางจิตวิทยาที่มีระบบระเบียบวิธีการของตนเอง ถือเป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
- สาขาวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ความสามารถทางพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย อย่างเป็นลำดับขั้นตอนว่า มีกระบวนการพัฒนา แต่ละวัยอย่างไร รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ต่างๆ ของการพัฒนาโดยเฉพาะทางจิตใจ
- สาขาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมอย่างเป็นระบบ เนื้อหาวิชารวมการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด เช่น ศึกษาการรับรู้การตอบสนอง ระหว่างบุคคล อิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ฯลฯ
- สาขาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยให้คนรู้จัก และเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งทุกด้าน ช่วยให้คนรู้จักโลกและสิ่งแวดล้อมของตนช่วยให้คนรู้จักการพัฒนา และสามารถนำศักยภาพหรือความสามารถที่ตนมีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น รู้จักเลือก และตัดสินใจอย่างฉลาดเพื่อแก้ปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
- สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทาง จิตวิทยามาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคล พัฒนาการบริหาร การจูงใจลูกจ้าง วิจัยตลาด วิจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองธุรกิจและอุตสาหกรรม
- สาขาจิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการปรับตัวของมนุษย์โดยพยายามค้นหาสาเหตุว่าคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือมีความผิดปกติทางจิตใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรนักจิตวิทยาคลีนิคใช้หลักการและความรู้ทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ และบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ปัญหาทางสุขภาพจิตโรคประสาท การติดยาเสพติด ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ตลอดจนปัญหาการปรับตัวอื่นๆ เพื่อค้นหาวิธีการปรับตัวและการแสดงออกที่ดีและเหมาะสมกว่า
***จบไปทำไรต่อดี
เมื่อคนนึกถึงนักจิตวิทยา มักจะคิดถึงนักบำบัดที่เรียนมาสูงๆนั่งอยู่ที่ออฟฟิศหรูหรา หรือคิดถึงนักวิทยาศาสตร์หัวฟูๆในมือถือเข็มอิเล็กโตรดคอยจิ้มสมองเล็กๆหนูทดลองในห้องแล็บ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็จริง แต่เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่นักจิตวิทยาทำ
นักจิตวิทยาสามารถเข้าไปทำงานได้ในหลากหลายสาขาอาชีพมาก ถึงแม้ว่างานหลักใหญ่ๆจะอยู่ในด้านการบำบัดและการเรียนการศึกษา และส่งที่จะบอกต่อไปนี้คือกลุ่มงานที่คุณๆสามารถเลือกไปทำงานได้หลังจากที่ได้เรียนจิตวิทยา โดยทั่วไปแล้วควรจะจบปริญญาเอกแต่ก็มีบางสายงานที่จบปริญญาโทก็เพียงพอที่จะทำงานได้แล้ว
1.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา (Clinician)
กลุ่มนี้มักจะทำงานในโรงพยาบาล ไม่ก็ตามชุมชนต่างๆ หรือไม่ก็ทำเองส่วนตัวโดยใช้เวลาทำงานของตนเองทั้งวันในการอยู่กับผู้ที่รับการบำบัด โดยทั่วไปแล้วงานกลุ่มนี้จะต้องการการศึกษาระดับปริญญาเอกในทั้งสาขาจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการปรึกษา และควรจะได้เรียนเรื่องจิตพยาธิวิทยาและวิธีการรักษาต่างๆมาอย่างดี ในสหรัฐอเมริกาจะมีกลุ่มที่ทำงานแบบนี้ประมาณ 40-45% ของนักจิตวิทยาทั้งหมด
2.กลุ่มนักการศึกษา (Educator)
ในสหรัฐฯ นักจิตวิทยามักจะเริ่มต้นทำงานกับด้านการศึกษาอยู่ประมาณ 40% บางคนก็สอนจิตวิทยา บางคนก็ทำงานวิจัยและให้ดูแลโครงงานวิจัยของนักเรียนนักศึกษา แนะนำการทำวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา และบางคนก็ทำวิจัยกันเอง อยู่ในห้องทดลองหรือที่อื่นๆ หลายคนในกลุ่มนี้ก็เหมาเอาหมดทุกงานตามที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ
3.กลุ่มธุรกิจ (Business)
นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่ได้รับการฝึกฝน ได้รับการเทรนในแวดวงธุรกิจและการจัดการองค์กร คนกลุ่มนี้จะถูกว่าจ้างโดยองค์กรใหญ่ๆหรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์(Ergonomic คือ การทำให้สถานที่ทำงานและเครื่องใช้ไม้สอยให้เหมาะสมกับผู้ที่ทำงาน) งานที่ได้ทำจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจที่เข้าไปทำและความต้องการของบริษัทนั้นๆ แต่ก็ทำอยู่เกี่ยกวับการสัมภาษณ์งาน การจ้างคน การฝึกพนักงาน การเลื่อนขั้นพนักงาน การประเมินการสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มกัน และช่วยเหลือผู้บริหารในการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับลูกจ้างและนโยบายกฏเกณฑ์ต่างของพนักงานแม้ว่าเป็นสาขาเฉพาะที่กำลังเติบโตอยู่เรื่อยๆ แต่ทว่าในสหรัฐฯก็มีสัดส่วนแค่ 5% จากนักจิตวิทยาทั้งหมด
4.กลุ่มงานกีฬา (Sports)
นักจิตวิทยาบางคนก็ผสมผสานระหว่างด้านกีฬาที่ตนเองสนใจเข้ากับความรู้ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์และแรงจูงใจต่างๆ ผู้ที่ทำงานสายอาชีพนี้มักจะทำงานเพียงกีฬาใดกีฬาหนึ่งไปหรือเจาะจงบางทีมไปเลยเพื่อศึกษาและช่วยให้ทีมพัฒนาได้ดีขึ้น เมื่อทีมอยู่ในสภาวะแรงจูงใจตก มีความกังวล ความกลัว และตอนที่มีเป้าหมายในการแข่งขัน
5.กลุ่มงานเทคโนโลยี (Technology)
เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มงานใหม่ที่ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์จากจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะมีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เรื่องระหว่างคนกับเครื่องจักร คนกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน คนกับเทคโนโลยี เป็นต้น หรือจะพูดอีกอย่างได้ว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้จะศึกษาว่าเทคโนโลยีจะส่งผลอย่างไรกับเรา และเทคโนโลยีจะช่วยทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร
6.กลุ่มงานอื่นๆ (Other)
ผู้เขียนไม่สามารถระบุได้หมดว่านักจิตวิทยาสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะว่านักจิตวิทยาสามารถทำงานได้หลากหลายมากมาย บางคนก็ทำงานส่วนตัวเป็นพาร์ทไทม์และมีสอนบ้าง บางคนก็ทำการวิจัยในช่วงปิดภาคฤดูร้อนและก็เข้าสอนในช่วงเดือนอื่นๆ บางคนก็เอาความรู้จิตวิทยาไปใช้ในการอาชีพของตนเอง งานใดที่ใช้คนก็ควรจะคิดถึงนักจิตวิทยาเข้าไปด้วย ยังไงก็ตามสิ่งที่นักจิตวิทยาควรจะเก่งๆเอาไว้คือ ศึกษาเกี่ยวกับด้านปัญญาการรู้คิด ศึกษาอารมณ์ และศึกษาพฤติกรรมคนนี่แหละ
***ด่วน!!! โลกอนาคตนักจิตวิทยาฯขาดตลาด
แม้ว่าปัจจุบันจะมีมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวมากขึ้นและโดยภาพรวมมีนักศึกษาสมัครเข้าเรียนในสาขาดังกล่าวมากขึ้น โดยที่ม.ธรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาปริญญาโทสาขาดังกล่าว ปีการศึกษาละ 60 คน ซึ่งมีนักศึกษาจบออกไปอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ตามกำหนดเวลาของหลักสูตรก็ตามที
ผศ.ธีรศักดิ์ ก็ยังเกรงว่า สังคมจะขาดนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ เนื่องจากการเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ ไม่เพียงแค่ศึกษาจบหลักสูตรเท่านั้น แต่ยังต้องมีความสนใจในความเป็นมนุษย์ ช่างสังเกตและมีคุณธรรมจริยธรรมพอสมควร ต้องเป็นนักวิจัย ค้นคว้า ไม่นิ่งเฉย เพราะเรื่องจิตใจมนุษย์ละเอียดอ่อน ต้องไวต่อความต้องการของตนเองและผู้อื่นคือ ตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่นที่ดี
ที่สำคัญต้องมีความสามารถในการบริหารอารมณ์ด้วย เพราะปัจจัยสำคัญของมนุษย์ นอกจากความนึกคิดแล้ว คืออารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่การก่อพฤติกรรม นักจิตวิทยาที่ดีจึ้งต้องบริหารอารมณ์และความคิดของตนเองได้
ที่ผมบอกว่าเราจะขาดแคลนนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ หมายความว่า ปัญหาสังคมในการบริหารจัดการมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็ว คนปรับวิธีคิดไม่ทัน เราต้องการคนที่มีความรู้จิตวิทยาไปช่วย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ผมมองว่านักจิตวิทยาที่มีความสามารถไม่พอต่อสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นั่นคือคนป่วยไข้ทางจิตมากขึ้น โดยเฉพาะคนในองค์กร การบริหารโดยมุ่งเน้นที่เป้าหมายเกินไป เป็นการบริหารที่ส่งเสริมให้คนเกิดความเครียด นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ จะมีความจำเป็นและเป็นที่ต้องการมากขึ้น หากไม่มีอะไรรองรับตรงนี้ ประสิทธิภาพการบริหารงานของคนเราก็จะด้อยลง ในอนาคตโอกาสที่จะขาดแคลนนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ เก่งๆ มีสูงทีเดียว
ส่วนงานที่มหาบัณฑิตจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้วได้ทำนั้น พบว่า 17% เป็นผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล 15% เป็นพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล 14% เป็นอาจารย์/นักวิชาการ 12% เป็นผู้จัดการการผลิตวิศวกร และ 11% เป็นเจ้าของกิจการ
ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนจิตวิทยากันเถอะ!!!
***มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
-ระดับปริญญาตรี
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/
มีวิชา จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
2.คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
3.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เกษตรศาสตร์ http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy/
มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรม
4.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://hu.swu.ac.th/psych/
5.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนว ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://edu.swu.ac.th/
6.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศิลปากร http://www.educ.su.ac.th/program/programI.html
7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ http://www.human.cmu.ac.th/~psycho/
8.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.บูรพา http://www.huso.b uu.ac.th/
9.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนวและจิตวิทยาการให้คำปรึกษา http://gep.buu.ac.th/index2.html
มี จิตวิทยาการปรึกษา
10.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.มหาสารคาม http://www.msu.ac.th/
11.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_1.asp
มี จิตวิทยาสังคม, จิตวิทยาการบริการปรึกษาและแนะแนว, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาพัฒนาการ
12.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ทักษิณ http://www.tsu.ac.th/
13.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.พายัพ http://psycho.payap.ac.th/
มี จิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว จิตวิทยาสังคม
14.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.นเรศวร http://www.social.nu.ac.th/course.htm
15.วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ศิลปศาสตร สาขาวิชาจิตวิทยา http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=40&Itemid=42
มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาองค์การ
16.คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=169&Itemid=140
มี จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, การประถมศึกษา-จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
17.คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏธนบุรี http://dit.dru.ac.th/home/001/index.php
18.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์
19.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏนครราชสีมา http://www.edu.nrru.ac.th/psychology/index.asp
20.คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ม.เกษตรศาสตร์ http://edupsy.edu.ku.ac.th/
-ระดับปริญญาโท
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php
มี จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
2.Graduate School of Psychology มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://www.grad.au.edu/py_program
มี Counseling Psychology
3. โครงการปริญญาโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ม.ธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/org/arts/psycho
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
4. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=59
มี จิตวิทยาประยุกต์
5. การศึกษามหาบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ http://hu.swu.ac.th/psych/curriculum/master.htm
มี จิตวิทยาพัฒนาการ
6. คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร http://www.educ.su.ac.th/program/programIl.html
มี จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology), จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ (Special Education Psychology)
7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ http://www.human.cmu.ac.th/~psycho/
มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ,จิตวิทยาการปรึกษา
8. บัณฑิตวิทยาลัย ม.บูรพา http://graduate.buu.ac.th/course.htm
มี จิตวิทยาการแนะแนว, พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
9. การศึกษามหาบัณฑิต ม.มหาสารคาม http://www.grad.msu.ac.th/
มี จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
10. หลักสูตรปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_2.asp
มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development ), จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ (Psychology for Special Education Teachers), จิตวิทยาการพัฒนาการ, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาการให้คำปรึกษา, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน
11.คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร http://www.edu.nu.ac.th/
มี จิตวิทยาการแนะแนว (Courseling Psychology )
12. คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=170&Itemid=141
มี จิตวิทยาการศึกษา
13.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.cued-research.com/
มี จิตวิทยาการศึกษา
14.คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
มี โครงการปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ http://indpsy.soc.ku.ac.th/index.html
จิตวิทยาชุมชน http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy/community.html
-ระดับปริญญาเอก
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php
มี จิตวิทยาสังคมและพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา
2. หลักสูตรปริญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_3.asp
มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, จิตวิทยาให้คำปรึกษา, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
3.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.cued-research.com/
มี จิตวิทยาการศึกษา
thongman- เธเธฃเธฃเธฅเธธเนเธเธ
- เธเธณเธเธงเธเธเนเธญเธเธงเธฒเธก : 2638
Registration date : 06/02/2008
เธซเธเนเธฒ 1 เธเธฒเธ 1
Permissions in this forum:
เธเธธเธเนเธกเนเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธเธเธดเธกเธเนเธเธญเธ