รู้จักประชาคมอาเซียน ตอน1
:: สำหรับครู
หน้า 1 จาก 1
รู้จักประชาคมอาเซียน ตอน1
ตามที่ขอกันมานะครับ
เรื่องราวของประชาคมอาเซียน มีหลายคำถามหลายแง่มุมมาก
ในเรื่องราวของประชาคมอาเซียนที่มีต่อพวกเรา
ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้บริหารสถานศึกษา
จะขอเล่าที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียนเพื่อให้เข้าใจผลต่างๆ ที่จะตามมาซึ่งผมจะค่อยๆ เล่าไปทีละตอนนะครับ
ที่มาของ อาเซียน 10 ชาติ 1 อาเซียน
การที่เราต้องมารวมกันเป็นสมาคมอาเซียน มีเหตุผลหลักก็คือ
1.เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาเหล่าสมาชิก
2.เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภูมิภาคนี้ ในด้านของสังคม วัฒนธรรม
3.เพื่อความมั่นคงของเหล่าสมาชิกอาเซียน
อยากให้เรามองภาพอาเซียนให้ชัดก่อนที่จะไปเจาะถึงรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย
อาเซียนได้เริ่มก่อตั้ง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510
สมัยเริ่มต้นมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และสิงคโปร์
ต่อจากนั้นบรูไนก็ตามเข้ามา และอีก 4 ประเทศก็ตามเข้ามาภายหลัง
รวมกันเป็น 10 ประเทศ
การทำความตกลงครั้งสำคัญซึ่งเป็นที่มาของประชาคมอาเซียน สิบชาติหนึ่งอาเซียน
คือข้อตกลง วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 ซึ่งทำกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2540
เริ่มมีการทำกฎบัตรอาเซียน ตั้งกฏกติกาต่างๆ
เพื่อเป้าหมายในการร่วมมือกันทั้งด้านเศรฐกิจ ความมั่นคงและวัฒนธรรม
โดยตั้งใจจะให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ.2020
และจากความคืบหน้าในการร่วมมือของสมาชิก ทำให้มีการลดเวลาลงมาคือจะให้สำเร็จภายในปี ค.ศ.2015
นั่นคืออีก 3 ปีจากนี้ไป
เหตุที่ต้องร่วมมือกัน
ด้านเศรษฐกิจ
ลองนึกดูว่าประเทศไทยประเทศเดียว ไปต่อรองกับอเมริกา ก็อาจต่อรองอะไรได้ไม่มาก
เพราะมีประชากรอยู่ 60 ล้านคน
แต่เมื่อรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว
อย่าว่าแต่ไทยเลยครับ ลาวหรือกัมพูชา ก็สามารถมีอํานาจต่อรองทางการค้าได้
เพราะมีพวกเยอะ ทรัพยากรมากและกำลังซื้อก็ไม่น้อย
ถ้าต่อรองในนามของอาเซียน ก็ย่อมแข็งแรงกว่า
ดูอย่างเรื่องสิทธิบัตรยา อเมริกาบีบอะไรเราก็ต้องยอม จะขอผ่อนปรนอะไรก็ไม่ได้
แต่เรื่องเดียวกันนี้ อเมริกาไม่กล้าทำอะไรกับจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การร่วมมือกันก็ต้องมีความจริงใจ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญมาก
เพราะถ้าหมู่มวลสมาชิกอาเซียนไม่จริงใจกัน มีการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากจนเกินไป
ก็จะทําให้อาเซียนไม่เป็นปึกแผ่น
และการต่อรองทางการค้าไม่ว่าจะเป็นการต่อรองกับประเทศใดๆ
หรือต่อรองกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ ก็จะไม่มีนำ้หนัก ไม่น่าเชื่อถือ
การรวมกลุ่มกันในลักษณะนี้เบื้องต้น มักจะเป็นการร่วมมือเพื่อเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่
โดยตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EU เขตการคา้เสรีNAFTA
ก็รวมตัวกันเพราะต้องการส่งเสริมการค้าขาย ลดปัญหาอุปสรรคเรื่อภาษี
และยังเป็นแรงในการต่อรองกับภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย
เศรษฐกิจของเราน่าจะไปได้ดีมากกว่าจะไปอย่างโดดเดี่ยว
ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งได้แก่ กลุ่ม OPEC
ประเทศผลิตน้ํามันทั่วโลกได้รวมกลุ่มกัน ถึงแม้จะไม่ใช่เขต free trade
แต่ก็รวมกันด้วยวัตถุประสงค์ทางการค้าและ ทําให้มีอํานาจกําหนดราคาน้ํามันได้เช่นเดียวกัน
การรวมกันเป็นอาเซียนอย่างนี้ เอาแค่ไทยกับเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
ก็สามารถร่วมมืออาจกําหนดราคาข้าวได้เช่นกัน
เพราะประเทศจีน ถึงแม้จะมีแผ่นดินกว้างใหญ่ แต่ก็ผลิตข้าวได้ไม่พอกับความต้องการของคนในประเทศ
ที่อเมริกา หรือแอฟริกาก็มีการนําเข้าข้าว หรือ ใกล้ๆ บ้านเราอย่างอินโดนีเซีย ก็ยังต้องนําเข้าข้าวจากไทย
นี่คือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประชาคมอาเซียนจะมีร่วมกัน
ในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น อาเซียนเองมีการแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละประเทศเป็ยผู้นําในด้านต่างๆ
ประเทศไทยเองเป็นผู้นําในด้านการท่องเที่ยว ดึงคนมาเที่ยวไม่แค่ในประเทศไทยแต่ทั้งอาเซียน
ผลประโยชน์ก็ไม่ได้แค่อยู่กับประเทศไทย แต่หมู่มวลสมาชิกอาเซียนก็ได้ประโยชน์ด้วย
มาเลเซียเป็นผู้นําด้านยางพารา ไม่แค่มาเลเซียจะได้ประโยชน์ แต่ทุกประเทศในอาเซียนก็จะได้ประโยชน์ด้วย
ราคายางก็อาจจะดีขึ้น และอาจมีความร่วมมืออื่นๆ ที่จะตามมา
เช่น ประเทศลาวก็อาจปลูกยาง โดยมีมาเลเซียและไทยเป็นผู้สนับสนุน
ซึ่งน่าจะดีกว่าการยอมให้จีนเช่าพื้นที่ปลูกยางอย่างทุกวันนี้
ถึงตรงนี้หลายท่านที่ถามกันมาคงพอจะมองประโยชน์จากอาเซียนได้นะครับ
ในตอนต่อไปผมจะเล่าเรื่อง จากเขตเศรษฐกิจสู่ประชาคมและสิ่งที่เราควรเตรียมพร้อมกับโอกาสดีๆ นี้ผมมองว่า
ถ้าเราคิดแต่ในแง่ลบ มันก็จะมีแต่เรื่องร้าย
แน่นอนครับ ทุกการเปลี่ยนแปลงมีทั้งโอกาสและอุปสรรค์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แต่ถ้าเราเตรียมพร้อม มองด้านบวก วางบทบาทให้ถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทุกคนทุกฝ่ายครับ
อยากแบ่งให้เพื่อนอ่านบ้าง ก็แชร์ได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://blog.eduzones.com/wiriya/84248
เรื่องราวของประชาคมอาเซียน มีหลายคำถามหลายแง่มุมมาก
ในเรื่องราวของประชาคมอาเซียนที่มีต่อพวกเรา
ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้บริหารสถานศึกษา
จะขอเล่าที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียนเพื่อให้เข้าใจผลต่างๆ ที่จะตามมาซึ่งผมจะค่อยๆ เล่าไปทีละตอนนะครับ
ที่มาของ อาเซียน 10 ชาติ 1 อาเซียน
การที่เราต้องมารวมกันเป็นสมาคมอาเซียน มีเหตุผลหลักก็คือ
1.เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาเหล่าสมาชิก
2.เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภูมิภาคนี้ ในด้านของสังคม วัฒนธรรม
3.เพื่อความมั่นคงของเหล่าสมาชิกอาเซียน
อยากให้เรามองภาพอาเซียนให้ชัดก่อนที่จะไปเจาะถึงรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย
อาเซียนได้เริ่มก่อตั้ง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510
สมัยเริ่มต้นมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และสิงคโปร์
ต่อจากนั้นบรูไนก็ตามเข้ามา และอีก 4 ประเทศก็ตามเข้ามาภายหลัง
รวมกันเป็น 10 ประเทศ
การทำความตกลงครั้งสำคัญซึ่งเป็นที่มาของประชาคมอาเซียน สิบชาติหนึ่งอาเซียน
คือข้อตกลง วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 ซึ่งทำกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2540
เริ่มมีการทำกฎบัตรอาเซียน ตั้งกฏกติกาต่างๆ
เพื่อเป้าหมายในการร่วมมือกันทั้งด้านเศรฐกิจ ความมั่นคงและวัฒนธรรม
โดยตั้งใจจะให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ.2020
และจากความคืบหน้าในการร่วมมือของสมาชิก ทำให้มีการลดเวลาลงมาคือจะให้สำเร็จภายในปี ค.ศ.2015
นั่นคืออีก 3 ปีจากนี้ไป
เหตุที่ต้องร่วมมือกัน
ด้านเศรษฐกิจ
ลองนึกดูว่าประเทศไทยประเทศเดียว ไปต่อรองกับอเมริกา ก็อาจต่อรองอะไรได้ไม่มาก
เพราะมีประชากรอยู่ 60 ล้านคน
แต่เมื่อรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว
อย่าว่าแต่ไทยเลยครับ ลาวหรือกัมพูชา ก็สามารถมีอํานาจต่อรองทางการค้าได้
เพราะมีพวกเยอะ ทรัพยากรมากและกำลังซื้อก็ไม่น้อย
ถ้าต่อรองในนามของอาเซียน ก็ย่อมแข็งแรงกว่า
ดูอย่างเรื่องสิทธิบัตรยา อเมริกาบีบอะไรเราก็ต้องยอม จะขอผ่อนปรนอะไรก็ไม่ได้
แต่เรื่องเดียวกันนี้ อเมริกาไม่กล้าทำอะไรกับจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การร่วมมือกันก็ต้องมีความจริงใจ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญมาก
เพราะถ้าหมู่มวลสมาชิกอาเซียนไม่จริงใจกัน มีการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากจนเกินไป
ก็จะทําให้อาเซียนไม่เป็นปึกแผ่น
และการต่อรองทางการค้าไม่ว่าจะเป็นการต่อรองกับประเทศใดๆ
หรือต่อรองกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ ก็จะไม่มีนำ้หนัก ไม่น่าเชื่อถือ
การรวมกลุ่มกันในลักษณะนี้เบื้องต้น มักจะเป็นการร่วมมือเพื่อเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่
โดยตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EU เขตการคา้เสรีNAFTA
ก็รวมตัวกันเพราะต้องการส่งเสริมการค้าขาย ลดปัญหาอุปสรรคเรื่อภาษี
และยังเป็นแรงในการต่อรองกับภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย
เศรษฐกิจของเราน่าจะไปได้ดีมากกว่าจะไปอย่างโดดเดี่ยว
ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งได้แก่ กลุ่ม OPEC
ประเทศผลิตน้ํามันทั่วโลกได้รวมกลุ่มกัน ถึงแม้จะไม่ใช่เขต free trade
แต่ก็รวมกันด้วยวัตถุประสงค์ทางการค้าและ ทําให้มีอํานาจกําหนดราคาน้ํามันได้เช่นเดียวกัน
การรวมกันเป็นอาเซียนอย่างนี้ เอาแค่ไทยกับเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
ก็สามารถร่วมมืออาจกําหนดราคาข้าวได้เช่นกัน
เพราะประเทศจีน ถึงแม้จะมีแผ่นดินกว้างใหญ่ แต่ก็ผลิตข้าวได้ไม่พอกับความต้องการของคนในประเทศ
ที่อเมริกา หรือแอฟริกาก็มีการนําเข้าข้าว หรือ ใกล้ๆ บ้านเราอย่างอินโดนีเซีย ก็ยังต้องนําเข้าข้าวจากไทย
นี่คือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประชาคมอาเซียนจะมีร่วมกัน
ในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น อาเซียนเองมีการแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละประเทศเป็ยผู้นําในด้านต่างๆ
ประเทศไทยเองเป็นผู้นําในด้านการท่องเที่ยว ดึงคนมาเที่ยวไม่แค่ในประเทศไทยแต่ทั้งอาเซียน
ผลประโยชน์ก็ไม่ได้แค่อยู่กับประเทศไทย แต่หมู่มวลสมาชิกอาเซียนก็ได้ประโยชน์ด้วย
มาเลเซียเป็นผู้นําด้านยางพารา ไม่แค่มาเลเซียจะได้ประโยชน์ แต่ทุกประเทศในอาเซียนก็จะได้ประโยชน์ด้วย
ราคายางก็อาจจะดีขึ้น และอาจมีความร่วมมืออื่นๆ ที่จะตามมา
เช่น ประเทศลาวก็อาจปลูกยาง โดยมีมาเลเซียและไทยเป็นผู้สนับสนุน
ซึ่งน่าจะดีกว่าการยอมให้จีนเช่าพื้นที่ปลูกยางอย่างทุกวันนี้
ถึงตรงนี้หลายท่านที่ถามกันมาคงพอจะมองประโยชน์จากอาเซียนได้นะครับ
ในตอนต่อไปผมจะเล่าเรื่อง จากเขตเศรษฐกิจสู่ประชาคมและสิ่งที่เราควรเตรียมพร้อมกับโอกาสดีๆ นี้ผมมองว่า
ถ้าเราคิดแต่ในแง่ลบ มันก็จะมีแต่เรื่องร้าย
แน่นอนครับ ทุกการเปลี่ยนแปลงมีทั้งโอกาสและอุปสรรค์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แต่ถ้าเราเตรียมพร้อม มองด้านบวก วางบทบาทให้ถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทุกคนทุกฝ่ายครับ
อยากแบ่งให้เพื่อนอ่านบ้าง ก็แชร์ได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://blog.eduzones.com/wiriya/84248
thongman- บรรลุเทพ
- จำนวนข้อความ : 2638
Registration date : 06/02/2008
ประชาคมอาเซียน ตอน2
จากการร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มักจะนำมาซึ่งสิ่งที่ประเทศต่างๆ ต้องการกันทั้งโลก
นั่นคือ
ความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของภูมิภาค
ซึ่งถ้าทำได้ทั้งสามด้านนี้ก็จะทำให้ 10 ชาติ บรรลุเป้าหมายในการเป็นประชาคมอาเซียน
ในด้านของสังคมและวัฒนธรรม
สมาชิกได้ทำข้อตกลงในการพัฒนาสังคมร่วมกันโดยจะร่วมมือในเรื่องต่างๆ คือ
ด้านฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความร่วมมือด้านศิลปะ และวัฒนธรรม
การสร้างโอกาสงาน
ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม
ในด้านการศึกษานั้น เราอาจดูตัวอย่างความร่วมมือของชาติต่างๆ ในยุโรป
ซึ่งผลจากความร่วมมือทำให้มีการจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเชื่อมโยงด้านงานวิจัย
และที่นับเป็นความสำเร็จอย่างมากคือ
การที่นักศึกษาในยุโรปไม่ว่าจะเรียนอยู่ในประเทศใด สามารถที่จะโอนถ่ายหน่วยกิต
ตระเวณเรียนไปในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วยุโรป
ลองนึกดูนะครับว่าจะเกิดผลดีแค่ไหนถ้านักศึกษาไทย...
ปี 1 เรียนที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี 2 ไปเรียนที่ ฮานอย
ปี 3 ย้ายไปเรียนที่ปีนัง
แล้วไปจบปี 4 รับปริญญาที่ สิงคโปร์
แนวทางอย่างนี้ยุโรปทำสำเร็จแล้วครับ
วันนี้นักศึกษาในยุโรป สามารถตระเวณเรียนไปได้ทั่วยุโรป
นั่นคือได้ท่องเที่ยวไปอยู่ในประเทศที่ตนสนใจใช้ชีวิตอยู่เป็นปี
โดยเสียค่าใช้จ่ายเท่าๆ กับเรียนอยู่ที่ประเทศตนเอง
ถ้าอาเซียนทำได้ คนอาเซียนในอนาคตจะมีความเข้าใจกันมาก มีความผูกพันกันมากครับ
ทุกวันนี้คนเวียดนาม ลาว แม้แต่คนจีนในประเทศจีน มีการเรียนภาษาไทยกันเยอะขึ้น
แน่นอนว่าคนที่เรียนภาษาไทยก็มีโอกาสทำงานได้หลากหลาย และรายได้ดีมากครับ
คนไทยเราเองยังสนใจไปเรียนภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม หรือ กัมพูชา กันน้อยมากครับ
คงยังนึกกันไม่ออกว่าจะมีประโยชน์อะไร
น่าเสียดายที่ผ่านมาพวกเราชาวอาเซียนรู้จักกันน้อยมาก
เรารู้จักวัฒนธรรมฝรั่ง เพราะหนังฮอลลีวูด
เรามีการเรียนในระดับ ม.ปลายโดยให้เลือก ศิลป์ฝรั่งเศส และศิลเยอรมันกันมานานมาก
เราเพิ่งเริ่มมีการเรียนภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีนและเกาหลี ระยะ 10 มานี้เองครับ
แต่เราแทบไม่รู้เรื่องราวของประเทศที่อยู่ใกล้ๆ เราเลย
เมื่อประมาณ 10 ที่แล้ว ผมเคยบรรยายในโรงเรียนแห่งหนึ่งว่า
ต่อไปในอนาคต ศิลปฝรั่งเศสที่พวกเราเรียนกันมากมายนี้จะมีความสำคัญน้อยลง
เพราะภาษาฝรั่งเศสจะมีบทบาทสูงในเรื่องประวัติศาสตร์ กฏหมาย เท่านั้น
ส่วนในด้านการทำมาหากิน ภาษาอังกฤษ จีนญี่ปุ่นจะมีประโยชน์กว่ากันมาก
บรรยายจบมีคุณครูสอนภาษาฝรั่งเศสโกรธผมเป็นฟืนเป็นไฟ เพราะนักเรียนที่ฟังคงไปแจ้งท่าน
ท่านรีบโทรมาบอกผมให้กลับไปพูดขอโทษ ไม่งั้นจะเอาเรื่องให้ใหญ่โต
ผมเสียดายที่ท่านไม่ได้มาฟังเองจะได้เข้าใจเรื่องราวและเจตนา
ก็เลยแจ้งว่าว่างๆ ผมจะอัดเทปส่งไป แต่ไม่ได้ส่งไปขอโทษนะครับ
จะส่งไปย้ำว่าที่ผมพูดน่ะตั้งใจบอกเลยครับ
ไม่ได้เผลอพูดหรือดูถูกใคร ก็ไม่รู้จะไปขอโทษทำไม
ผ่านมาถึงวันนี้ท่านคงพอเข้าใจ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พวกเรารู้จักประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกา เป็นอย่างดี
เรามีการเรียนประวัติศาสตร์สากล คือเรื่องราวของชนชาติตะวันตก
มีการส่งลูกหลานไปเรียนที่อเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส
ทำให้คนไทยเต็มใจใช้สินค้าตะวันตก
หลังๆ มานี่กลายเป็นว่าอะไรเป็นของฝรั่งก็ดูดีไปหมด
สินค้าอะไรกลัวขายไม่ได้ก็เอาคนหน้าฝรั่งมาโฆษณา
ใครจะพูดจาอะไรถ้ากลัวคนไม่เชื่อ ก็ยกคำฝรั่งมาอ้าง
เราก็เป็นอย่างนี้กันมานาน
จนญี่ปุ่นเริ่มบุกมาโดยวัฒนธรรม และการ์ตูนญี่ปุ่นก็เข้ายึดพื้นที่หัวใจไทยได้
ทำให้คนไทยยุคต่อมาเริ่มนิยมญี่ปุ่น สินค้าญี่ปุ่นก็กลายเป็นขายดีในบ้านเรา
หลังสุดนี่เกาหลีบุกครับ
คราวนี้มาทางดนตรีและลีลา
พวกเราก็โดนเกาหลียึดพื้นที่วัฒนธรรมเข้าครอบงำจิตใจกันไปเรียบร้อยแล้ว
จนเดี๋ยวนี้ เด็กไทยนิยมเครื่องสำอางเกาหลี
สินค้าเกาหลีก็จะขายดีแบบไม่ต้องโหมโฆษณา
รัฐบาลเกาหลี สนับสนุนการเผยแพร่วัฒนธรรมโดยผ่านทางบรรดาบอยแบนด์
เกิลกรุ๊ป อย่างจริงจัง
การที่เพลงเกาหลีทะลักเข้ามาในบ้านเรา และทั่วเอเชีย ไม่ได้เป็นไปโดยบังเอิญนะครับ
แต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีอย่างเต็มที่
ทุกวันนี้เกาหลีเอาเพลงและดาราบุกไปยุโรปและอเมริกาแล้วครับ
เพราะเขารู้ดีว่าถ้าสร้างความนิยมในวัฒนธรรมของเขาได้แล้ว ก็สามารถขายสินค้าอื่นๆ ได้
เช่น เครื่อง สําอาง อาหาร ธนาคาร ประกันชีวิต ท่องเที่ยว ฯลฯ
ประเทศเราน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งเสริมให้ชาวอาเซียนแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงวัฒนธรรม ศิลปะมากกว่าประเทศอื่นในแถบนี้
เพราะไทยเราเองถ้านับกันในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแล้ว เราเป็นชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงครับ
ผู้คนในประเทศลาว กัมพูชา หรือเวียดนาม นิยมของไทยนะครับ
บ้านไหนพอมีสะตุ้งสะตังก็จะใช้สินค้าไทย
เขามีความรู้สึกว่าของจากไทยเป็นของดีมีคุณภาพราคาถูก
เรียกว่าใช้ของไทยดูมีคลาสกว่า ใช้สินค้าจากจีนครับ
ในประเทศออสเตรเลีย มีชุมชนอินโดจีนซึ่งเป็นที่รวมตัวกันของคนเวียดนาม เขมร ลาวและไทย
ที่อพยพไปตั้งรกรากกันเป็นจำนวนมาก
คนพวกนี้ขยันครับ
ส่วนมากก็ทำมาหากินจนร่ำรวย
เมื่อหลายปีก่อนที่ผมไปเที่ยวสิ่งที่ได้เห็นมันน่าคิดนะครับ
ผู้คนเหล่านี้ นิยมของไทยครับ ชอบดูหนังไทย มีหนังสือดาราไทย (ทั้งๆ ที่อ่านภาษาไทยกันไม่ได้)
ดูทีวีรายการ ตีสิบ ที่อัดไปให้เช่ากัน รายการทีวีไทย หนังไทย เป็นที่นิยมมากครับ
ชุมชนคนเวียดนาม ลาว เขมร ในลอสแอลเจลิส ก็เช่นเดียวกัน
รายการทีวีดังๆ ในบ้านเรา เขาได้ดูพร้อมๆ กับเรา มีทีวีไทยหลายช่องที่นี่ครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคนี้ เป็นยุคของการสื่อสารที่ง่าย ราคาถูกและเร็ว
ทำให้ทั่วโลกรับเรื่องราวของใครก็ได้แบบง่ายๆ ยิ่งทำให้เรื่องราวของวัฒนธรรม สำคัญมากขึ้นครับ
การรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนอย่างนี้ ผมคิดว่าเป็นโอกาสดี
ที่เราจะต้องรีบทบทวน ข้อดี จุดเด่น ของวัฒนธรรมของเรา
แล้วนำมาพัฒนา ขยายผลสร้างความแข็งแกร่ง ของไทย ก่อนที่ใครๆจะบุกยึดพื้นที่วัฒนธรรมไปซะก่อน
เรามีสงกรานต์ ที่สุดยอดของโลก
เรามีโขน ที่ได้อารมณ์และงดงาม
เรามีอาหารที่ อร่อยที่สุดในโลก
เรามีตลาดน้ำและวัด
และอื่นๆ อีกมากมายครับ
ที่สำคัญ วัฒนธรรมยุคนี้คืออาวุธที่ใช้บุกไปในโลกใบนี้
ต้องพัฒนาให้ดีและทันสมัย (ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเราเน้นแต่อนุรักษ์)
นึกถึงตรงนี้ก็น่าเสียดาย ไม่รู้ว่าพวกเรายังมีความภูมิใจในความเป็นไทยแค่ไหน
เยาวชน คนไทย ที่รักถ้าเรายังไม่ภูมิใจในตัวเอง ก็คงจะให้ใครมาภูมิใจในตัวเราได้ยากนะครับ
นั่นคือ
ความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของภูมิภาค
ซึ่งถ้าทำได้ทั้งสามด้านนี้ก็จะทำให้ 10 ชาติ บรรลุเป้าหมายในการเป็นประชาคมอาเซียน
ในด้านของสังคมและวัฒนธรรม
สมาชิกได้ทำข้อตกลงในการพัฒนาสังคมร่วมกันโดยจะร่วมมือในเรื่องต่างๆ คือ
ด้านฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความร่วมมือด้านศิลปะ และวัฒนธรรม
การสร้างโอกาสงาน
ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม
ในด้านการศึกษานั้น เราอาจดูตัวอย่างความร่วมมือของชาติต่างๆ ในยุโรป
ซึ่งผลจากความร่วมมือทำให้มีการจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเชื่อมโยงด้านงานวิจัย
และที่นับเป็นความสำเร็จอย่างมากคือ
การที่นักศึกษาในยุโรปไม่ว่าจะเรียนอยู่ในประเทศใด สามารถที่จะโอนถ่ายหน่วยกิต
ตระเวณเรียนไปในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วยุโรป
ลองนึกดูนะครับว่าจะเกิดผลดีแค่ไหนถ้านักศึกษาไทย...
ปี 1 เรียนที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี 2 ไปเรียนที่ ฮานอย
ปี 3 ย้ายไปเรียนที่ปีนัง
แล้วไปจบปี 4 รับปริญญาที่ สิงคโปร์
แนวทางอย่างนี้ยุโรปทำสำเร็จแล้วครับ
วันนี้นักศึกษาในยุโรป สามารถตระเวณเรียนไปได้ทั่วยุโรป
นั่นคือได้ท่องเที่ยวไปอยู่ในประเทศที่ตนสนใจใช้ชีวิตอยู่เป็นปี
โดยเสียค่าใช้จ่ายเท่าๆ กับเรียนอยู่ที่ประเทศตนเอง
ถ้าอาเซียนทำได้ คนอาเซียนในอนาคตจะมีความเข้าใจกันมาก มีความผูกพันกันมากครับ
ทุกวันนี้คนเวียดนาม ลาว แม้แต่คนจีนในประเทศจีน มีการเรียนภาษาไทยกันเยอะขึ้น
แน่นอนว่าคนที่เรียนภาษาไทยก็มีโอกาสทำงานได้หลากหลาย และรายได้ดีมากครับ
คนไทยเราเองยังสนใจไปเรียนภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม หรือ กัมพูชา กันน้อยมากครับ
คงยังนึกกันไม่ออกว่าจะมีประโยชน์อะไร
น่าเสียดายที่ผ่านมาพวกเราชาวอาเซียนรู้จักกันน้อยมาก
เรารู้จักวัฒนธรรมฝรั่ง เพราะหนังฮอลลีวูด
เรามีการเรียนในระดับ ม.ปลายโดยให้เลือก ศิลป์ฝรั่งเศส และศิลเยอรมันกันมานานมาก
เราเพิ่งเริ่มมีการเรียนภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีนและเกาหลี ระยะ 10 มานี้เองครับ
แต่เราแทบไม่รู้เรื่องราวของประเทศที่อยู่ใกล้ๆ เราเลย
เมื่อประมาณ 10 ที่แล้ว ผมเคยบรรยายในโรงเรียนแห่งหนึ่งว่า
ต่อไปในอนาคต ศิลปฝรั่งเศสที่พวกเราเรียนกันมากมายนี้จะมีความสำคัญน้อยลง
เพราะภาษาฝรั่งเศสจะมีบทบาทสูงในเรื่องประวัติศาสตร์ กฏหมาย เท่านั้น
ส่วนในด้านการทำมาหากิน ภาษาอังกฤษ จีนญี่ปุ่นจะมีประโยชน์กว่ากันมาก
บรรยายจบมีคุณครูสอนภาษาฝรั่งเศสโกรธผมเป็นฟืนเป็นไฟ เพราะนักเรียนที่ฟังคงไปแจ้งท่าน
ท่านรีบโทรมาบอกผมให้กลับไปพูดขอโทษ ไม่งั้นจะเอาเรื่องให้ใหญ่โต
ผมเสียดายที่ท่านไม่ได้มาฟังเองจะได้เข้าใจเรื่องราวและเจตนา
ก็เลยแจ้งว่าว่างๆ ผมจะอัดเทปส่งไป แต่ไม่ได้ส่งไปขอโทษนะครับ
จะส่งไปย้ำว่าที่ผมพูดน่ะตั้งใจบอกเลยครับ
ไม่ได้เผลอพูดหรือดูถูกใคร ก็ไม่รู้จะไปขอโทษทำไม
ผ่านมาถึงวันนี้ท่านคงพอเข้าใจ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พวกเรารู้จักประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกา เป็นอย่างดี
เรามีการเรียนประวัติศาสตร์สากล คือเรื่องราวของชนชาติตะวันตก
มีการส่งลูกหลานไปเรียนที่อเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส
ทำให้คนไทยเต็มใจใช้สินค้าตะวันตก
หลังๆ มานี่กลายเป็นว่าอะไรเป็นของฝรั่งก็ดูดีไปหมด
สินค้าอะไรกลัวขายไม่ได้ก็เอาคนหน้าฝรั่งมาโฆษณา
ใครจะพูดจาอะไรถ้ากลัวคนไม่เชื่อ ก็ยกคำฝรั่งมาอ้าง
เราก็เป็นอย่างนี้กันมานาน
จนญี่ปุ่นเริ่มบุกมาโดยวัฒนธรรม และการ์ตูนญี่ปุ่นก็เข้ายึดพื้นที่หัวใจไทยได้
ทำให้คนไทยยุคต่อมาเริ่มนิยมญี่ปุ่น สินค้าญี่ปุ่นก็กลายเป็นขายดีในบ้านเรา
หลังสุดนี่เกาหลีบุกครับ
คราวนี้มาทางดนตรีและลีลา
พวกเราก็โดนเกาหลียึดพื้นที่วัฒนธรรมเข้าครอบงำจิตใจกันไปเรียบร้อยแล้ว
จนเดี๋ยวนี้ เด็กไทยนิยมเครื่องสำอางเกาหลี
สินค้าเกาหลีก็จะขายดีแบบไม่ต้องโหมโฆษณา
รัฐบาลเกาหลี สนับสนุนการเผยแพร่วัฒนธรรมโดยผ่านทางบรรดาบอยแบนด์
เกิลกรุ๊ป อย่างจริงจัง
การที่เพลงเกาหลีทะลักเข้ามาในบ้านเรา และทั่วเอเชีย ไม่ได้เป็นไปโดยบังเอิญนะครับ
แต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีอย่างเต็มที่
ทุกวันนี้เกาหลีเอาเพลงและดาราบุกไปยุโรปและอเมริกาแล้วครับ
เพราะเขารู้ดีว่าถ้าสร้างความนิยมในวัฒนธรรมของเขาได้แล้ว ก็สามารถขายสินค้าอื่นๆ ได้
เช่น เครื่อง สําอาง อาหาร ธนาคาร ประกันชีวิต ท่องเที่ยว ฯลฯ
ประเทศเราน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งเสริมให้ชาวอาเซียนแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงวัฒนธรรม ศิลปะมากกว่าประเทศอื่นในแถบนี้
เพราะไทยเราเองถ้านับกันในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแล้ว เราเป็นชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงครับ
ผู้คนในประเทศลาว กัมพูชา หรือเวียดนาม นิยมของไทยนะครับ
บ้านไหนพอมีสะตุ้งสะตังก็จะใช้สินค้าไทย
เขามีความรู้สึกว่าของจากไทยเป็นของดีมีคุณภาพราคาถูก
เรียกว่าใช้ของไทยดูมีคลาสกว่า ใช้สินค้าจากจีนครับ
ในประเทศออสเตรเลีย มีชุมชนอินโดจีนซึ่งเป็นที่รวมตัวกันของคนเวียดนาม เขมร ลาวและไทย
ที่อพยพไปตั้งรกรากกันเป็นจำนวนมาก
คนพวกนี้ขยันครับ
ส่วนมากก็ทำมาหากินจนร่ำรวย
เมื่อหลายปีก่อนที่ผมไปเที่ยวสิ่งที่ได้เห็นมันน่าคิดนะครับ
ผู้คนเหล่านี้ นิยมของไทยครับ ชอบดูหนังไทย มีหนังสือดาราไทย (ทั้งๆ ที่อ่านภาษาไทยกันไม่ได้)
ดูทีวีรายการ ตีสิบ ที่อัดไปให้เช่ากัน รายการทีวีไทย หนังไทย เป็นที่นิยมมากครับ
ชุมชนคนเวียดนาม ลาว เขมร ในลอสแอลเจลิส ก็เช่นเดียวกัน
รายการทีวีดังๆ ในบ้านเรา เขาได้ดูพร้อมๆ กับเรา มีทีวีไทยหลายช่องที่นี่ครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคนี้ เป็นยุคของการสื่อสารที่ง่าย ราคาถูกและเร็ว
ทำให้ทั่วโลกรับเรื่องราวของใครก็ได้แบบง่ายๆ ยิ่งทำให้เรื่องราวของวัฒนธรรม สำคัญมากขึ้นครับ
การรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนอย่างนี้ ผมคิดว่าเป็นโอกาสดี
ที่เราจะต้องรีบทบทวน ข้อดี จุดเด่น ของวัฒนธรรมของเรา
แล้วนำมาพัฒนา ขยายผลสร้างความแข็งแกร่ง ของไทย ก่อนที่ใครๆจะบุกยึดพื้นที่วัฒนธรรมไปซะก่อน
เรามีสงกรานต์ ที่สุดยอดของโลก
เรามีโขน ที่ได้อารมณ์และงดงาม
เรามีอาหารที่ อร่อยที่สุดในโลก
เรามีตลาดน้ำและวัด
และอื่นๆ อีกมากมายครับ
ที่สำคัญ วัฒนธรรมยุคนี้คืออาวุธที่ใช้บุกไปในโลกใบนี้
ต้องพัฒนาให้ดีและทันสมัย (ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเราเน้นแต่อนุรักษ์)
นึกถึงตรงนี้ก็น่าเสียดาย ไม่รู้ว่าพวกเรายังมีความภูมิใจในความเป็นไทยแค่ไหน
เยาวชน คนไทย ที่รักถ้าเรายังไม่ภูมิใจในตัวเอง ก็คงจะให้ใครมาภูมิใจในตัวเราได้ยากนะครับ
thongman- บรรลุเทพ
- จำนวนข้อความ : 2638
Registration date : 06/02/2008
รู้จักประชาคมอาเซียน ตอน3ความมั่นคง
อีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ ของการจับมือกัน 10 ชาติอาเซียน
คือ อยากให้ภูมิภาคนี้มีความมั่นคงครับ
ความมั่นคงของชาติต่างๆ มักจะมีฐานมาจากเศรษฐกิจและการเมือง
ความจริงแล้วแทบทุกชาติในโลกล้วนกังวลเรื่องความมั่นคง
และมีวิธีสร้างความมั่นคงแตกต่างกันไป
หลายชาติในโลกเน้นในเรื่องการพัฒนาอาวุธ สร้างกองทัพให้ทันสมัย
เช่น อเมริกาทุ่มเทเงิน จนมีทั้งจำนวนทหารและอาวุธมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ตามมาด้วย จีน รัสเซีย อินเดีย อังกฤษและฝรั่งเศส
ประเทศเหล่านี้ไม่มีใครอยากมีปัญหาด้วยเพราะถ้ารบกันก็คงหนักหนาสาหัสน่ะครับ
ไทยเราเองถึงไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากมาย
แต่ก็มีการพัฒนาด้านทหารจนกองทัพไทยเรามีแสนยานุภาพอันดับ 28 ของโลก
และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน
แต่การพัฒนากองทัพและอาวุธเป็นการลงทุนที่สูงมาก
เนื่องจาก 10 ชาติอาเซียนไม่ได้ผลิตอาวุธสงครามขายเหมือนประเทศอเมริกา จีนและอินเดีย
ดังนั้น การรวมกลุ่มกันก็น่าจะสร้างความเกรงใจให้นานาชาติได้ครับ
ยังไงๆ ก็ดีกว่าอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการทุ่มเงินซื้ออาวุธพัฒนากองทัพ
อีกอย่างที่จะเป็นผลดีในด้านความมั่นคง คือ
ประชาคมอาเซียนน่าจะมีส่วนลดปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตแดน
ซึ่งความจริงปัญหานี้มีกันมากมายหลายภูมิภาคทั่วโลก
ไม่ใช่แค่ไทยและเขมรนะครับ
หมู่เกาะสแปรตลีย ในทะเลจีนใต้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
น่านน้ำสแปรตลีย์เป็นช่องทางเดินเรือสำคัญต่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะ
เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์
และก็เป็นกรณีพิพาทกับประเทศมหาอำนาจทางทหารคือจีน
ในหมู่ชาติอาเซียนด้วยกันเองก็มีปัญหาเขตแดนกันที่ยังแก้ไม่ตกอีกหลายคู่ครับ
เช่น มาเลเชียกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กับมาเลเซีย
ดังนั้น อาเซียนจึงคาดหวังว่าการร่วมมือในด้านเศรษฐกิจจะสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน
ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมจะสร้างความเข้าใจและพึ่งพากัน
ซึ่งทั้งสองด้านน่าจะนำมาซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคนี้ได้
ปัญหาเขตแดนและปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศสมาชิก
รวมทั้งปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราก็น่าจะมีทางออกที่ดีได้ครับ
ถึงตรงนี้ ผมได้เล่าเรื่องราวปูพื้นเพื่อให้พวกเราเห็นภาพ และความคาดหวังของประชาคมอาเซียนมาพอควร
สำหรับตอนต่อไปจะมาคุยในเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อรับกับโอกาสดีๆ ที่จะมาถึงในอีก 3 ปีนี้ครับ
คือ อยากให้ภูมิภาคนี้มีความมั่นคงครับ
ความมั่นคงของชาติต่างๆ มักจะมีฐานมาจากเศรษฐกิจและการเมือง
ความจริงแล้วแทบทุกชาติในโลกล้วนกังวลเรื่องความมั่นคง
และมีวิธีสร้างความมั่นคงแตกต่างกันไป
หลายชาติในโลกเน้นในเรื่องการพัฒนาอาวุธ สร้างกองทัพให้ทันสมัย
เช่น อเมริกาทุ่มเทเงิน จนมีทั้งจำนวนทหารและอาวุธมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ตามมาด้วย จีน รัสเซีย อินเดีย อังกฤษและฝรั่งเศส
ประเทศเหล่านี้ไม่มีใครอยากมีปัญหาด้วยเพราะถ้ารบกันก็คงหนักหนาสาหัสน่ะครับ
ไทยเราเองถึงไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากมาย
แต่ก็มีการพัฒนาด้านทหารจนกองทัพไทยเรามีแสนยานุภาพอันดับ 28 ของโลก
และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน
แต่การพัฒนากองทัพและอาวุธเป็นการลงทุนที่สูงมาก
เนื่องจาก 10 ชาติอาเซียนไม่ได้ผลิตอาวุธสงครามขายเหมือนประเทศอเมริกา จีนและอินเดีย
ดังนั้น การรวมกลุ่มกันก็น่าจะสร้างความเกรงใจให้นานาชาติได้ครับ
ยังไงๆ ก็ดีกว่าอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการทุ่มเงินซื้ออาวุธพัฒนากองทัพ
อีกอย่างที่จะเป็นผลดีในด้านความมั่นคง คือ
ประชาคมอาเซียนน่าจะมีส่วนลดปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตแดน
ซึ่งความจริงปัญหานี้มีกันมากมายหลายภูมิภาคทั่วโลก
ไม่ใช่แค่ไทยและเขมรนะครับ
หมู่เกาะสแปรตลีย ในทะเลจีนใต้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
น่านน้ำสแปรตลีย์เป็นช่องทางเดินเรือสำคัญต่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะ
เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์
และก็เป็นกรณีพิพาทกับประเทศมหาอำนาจทางทหารคือจีน
ในหมู่ชาติอาเซียนด้วยกันเองก็มีปัญหาเขตแดนกันที่ยังแก้ไม่ตกอีกหลายคู่ครับ
เช่น มาเลเชียกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กับมาเลเซีย
ดังนั้น อาเซียนจึงคาดหวังว่าการร่วมมือในด้านเศรษฐกิจจะสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน
ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมจะสร้างความเข้าใจและพึ่งพากัน
ซึ่งทั้งสองด้านน่าจะนำมาซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคนี้ได้
ปัญหาเขตแดนและปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศสมาชิก
รวมทั้งปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราก็น่าจะมีทางออกที่ดีได้ครับ
ถึงตรงนี้ ผมได้เล่าเรื่องราวปูพื้นเพื่อให้พวกเราเห็นภาพ และความคาดหวังของประชาคมอาเซียนมาพอควร
สำหรับตอนต่อไปจะมาคุยในเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อรับกับโอกาสดีๆ ที่จะมาถึงในอีก 3 ปีนี้ครับ
thongman- บรรลุเทพ
- จำนวนข้อความ : 2638
Registration date : 06/02/2008
:: สำหรับครู
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ